AEC Advisor in Asian Economic Community of ASEAN Countries

History of AEC

History of AEC

Posted by on May 30, 2013

At Ninth Summit in October 2003, the Association of South East Asian Nations (ASEAN) has established regional cooperation on the three pillars of security and socio cultural and economic integration. It has made most progress in economic integration and aims to create an ASEAN Economic Community (AEC) as one of the three pillars by...

Read More

AEC BLUEPRINT

AEC BLUEPRINT

Posted by on May 30, 2013

AEC Blueprint provides a strategic plan both short and medium terms toward 2015 for ASEAN member states, including strategic schedule with key milestones for a comprehensive and deeper economic integration by...

Read More

About Us

Posted by on Sep 2, 2013

AEC Advisor team consists of business advisors, financial advisors, legal advisors, lawyers and accountants. AEC Advisor has offices, correspondence office and connection of professional colleagues trading companies and successful businessmen throughout AEC member Countries. AEC Advisor has strong team of experienced professionals in the above fields who can provide exceptional services in all related fields including but not limit to, assisting in investing in each AEC country members which are Thailand, Brunei, Myanmar, Lao, Vietnam, Indonesia, Malaysia, Singapore, Philippines and Cambodia, assisting in company set up and complying with laws and regulations of each AEC country members, applying for related business licenses for AEC investors. As channels to support our clients, AEC Advisor also has good connection with several reputable business sectors and officials in the ten AEC member countries. Furthermore, our team has first-hand experience and reputable for writing AEC business articles that have been published in well-known newspapers and magazine every week. Therefore, we are fully confident to give solid business, management, legal and accounting assistance and advice for our clients who want to invest in various business sectors...

Read More

Our Services

Posted by on Sep 2, 2013

AEC Advisor provides services and assistance investing in ASEAN Countries which are Thailand, Brunei, Myanmar, Lao,Vietnam, Indonesia, Malaysia, Singapore, Philippines and Cambodia. Services of AEC Advisor include giving advice on business matching, joint venture, purchase and sale of shares, purchase and sale of assets, merger and acquisition, choices of investment.  AEC Advisor also assists in company set up and complying with laws and regulations of each AEC country members.  AEC Advisor applies for related business licenses for AEC investors.  AEC Advisor helps negotiating agreements and drafting contracts for our...

Read More

Recent Posts

โอกาสในสิงคโปร์

โอกาสในสิงคโปร์

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) ประเทศเกาะเล็กๆที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากประเทศหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนกับการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในระยะเวลาอันใกล้จะถึง เกาะแห่งตะวันออกไกลแห่งนี้ได้กลายเป็นประเทศที่มีความน่าสนใจต่อการลงทุนมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลกประเทศหนึ่ง ในคอลัมน์ฉบับนี้จะขอนำผู้อ่านเข้าไปรู้จักกับความเป็นมาของรากฐานทางเศรษฐกิจอันเข้มแข็งของประเทศสิงคโปร์ตลอดจนโอกาสและช่องทางในการลงทุนกิจการต่างๆ รวมทั้งโอกาสในการเข้าไปประกอบอาชีพในประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจประเทศนี้สำหรับนักลงทุนชาวไทย ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นอันใกล้นี้ สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน แม้ว่าสิงคโปร์จะเป็นเพียงประเทศเล็กๆที่มีข้อจำกัดทางทรัพยากรทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคลแต่ทว่าสิงคโปร์มีรายได้หลักมหาศาลจากการค้าขายด้วยภูมิประเทศของสิงคโปร์อยู่เป็นเกาะติดกับชายฝั่งทั้งมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนิเชีย จึงทำให้สะดวกต่อการทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางแลกเปลี่ยนสินค้าจากทั่วมุมโลกและกระจายสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ทั้งนี้รัฐบาลของสิงคโปร์ได้จัดให้มีท่าเรือน้ำลึกที่มีความทันสมัยมากและเขตการค้าปลอดภาษีสินค้าที่สิงคโปร์นำเข้าจะมีราคาถูก ในการค้าขายระหว่างประเทศนั้นสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้การติดต่อค้าขายกับนานาประเทศมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้สิงคโปร์ถูกจัดให้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก เมื่อเทียบกับ ลอนดอน โตเกียว และ นิวยอร์ก ปัจจุบันการเข้าไปทำงานในสิงคโปร์ของคนต่างชาติไม่ใช่เรื่องยาก ด้วยเหตุที่สิงคโปร์นั้นมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคล จึงทำให้สิงคโปร์จ้างแรงงานจากต่างชาติให้เข้ามาทำงานเป็นจำนวนมหาศาล ในต่อปีมีจำนวนหลายพันคน ทั้งนี้รัฐบาลของสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้สนับสนุนโดยมีการแจกสวัสดิการให้แก่แรงงานต่างด้าวที่มีฝีมือเพื่อเป็นการจูงใจให้เข้ามาทำงานในประเทศสิงคโปร์ อาทิมีการแจกทุนการศึกษาสำหรับสาขาวิชาชีพต่างๆที่ยังขาดแคลนบุคลากรฝีมือดี หรือการลดหย่อนภาษีสำหรับแรงงานต่างด้าว ดังนั้นโอกาสในการเข้าไปรับจ้างแรงงานในประเทศสิงคโปร์จึงยังคงเปิดกว้างเสมอสำหรับชาวต่างชาติที่มีความรู้และความสามารถ ในส่วนของการลงทุนข้ามชาตินั้นรัฐบาลของสิงคโปร์ได้สนับสนุนให้บริษัทต่างด้าวเข้ามา ลงทุนกันอย่างแพร่หลาย โดยรัฐบาลสนับสนุนให้ต่างชาติลงทุนเป็นเจ้าของธุรกิจประเภทต่างๆได้ 100% เว้นแต่เฉพาะกิจการประเภทการกระจายเสียง การจัดสรรคลื่นความถี่และประเภทกิจการด้านหนังสือพิมพ์ นอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลยังอนุญาตให้ชาวต่างชาติที่มาลงทุนในสิงคโปร์สามารถซื้อและเป็นเจ้าของที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่นได้อีกด้วย อีกปัจจัยที่ทำให้สิงคโปร์มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสูงก็คือการเมืองภายในของสิงคโปร์ที่มีเสถียรภาพและการเมืองมีความโปร่งใส อัตราการทุจริตโกงกินน้อย ด้วยหลายปัจจัยบวกหลายประการข้างต้นเป็นเหตุให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีชาวต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันนักลงทุนในสิงคโปร์โดยส่วนใหญ่มาจากเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร ธุรกิจที่ชาวต่างชาตินิยมเข้าไปลงทุนในสิงคโปร์มากที่สุดคือธุรกิจสาขาการเงินและการประกันภัย ธุรกิจสาขาการผลิต และธุรกิจสาขาการก่อสร้าง ประเทศไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันธ์ที่ดีกันมาโดยตลอดนับตั้งแต่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสิงคโปร์เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2508 ในแง่ของการเมืองนั้นรัฐบาลทั้งสองประเทศไม่เคยมีความขัดแย้งและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด มีการลงนามบันทึกความเข้าใจในเรื่องต่างๆกว่า 10 ฉบับ ในส่วนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของสองชาติก็อยู่ในระดับที่ดีต่างฝ่ายเป็นคู่ค้าลำดับต้นๆของทั้งสองฝ่าย จากสถิติเมื่อปี พ.ศ. 2554 สิงคโปร์เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 5 ของไทย (รองจากญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯและมาเลเซีย) ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 9 ของสิงคโปร์ ปัจจุบันสิงคโปร์ได้ขยายฐานการลงทุนเข้าไปในหลายประเทศอาเซียนมากขึ้น เนื่องจากสิงคโปร์มีข้อจำกัดด้านทรัพยากรประเภทต่างๆแต่ทว่ามีความมั่นคงทางเศรษฐกิจสูง การขยายตัวทางเศรษฐกิจจึงต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานของชาติอื่นๆมาช่วยเกื้อหนุนโดยสิงคโปร์เป็นผู้ลงทุน ดังนั้นสำหรับ AEC ที่กำลังจะเกิดขึ้น เชื่อว่าจะได้เห็นความร่วมมือในเชิงธุรกิจที่มากขึ้นระหว่างประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ ทั้งการเข้าไปทำงานประกอบอาชีพของคนไทยในสิงคโปร์ การทำธุรกิจข้ามชาติระหว่างบริษัทไทยและสิงคโปร์ ตลอดจนการร่วมมือด้านต่างๆของรัฐบาลสองประเทศที่คาดว่าจะมีมากขึ้นด้วย ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ดาวโหลดเอกสาร...

บรูไนมั่นคง

บรูไนมั่นคง

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com บรูไนดารุสซาลามหรือประเทศบรูไนเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงมากนัก ส่วนหนึ่งอาจมาจากการที่บรูไนเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กเพียง 5,765 ตารางกิโลเมตรและมีประชากรไม่ถึง 500,000 คน จึงอาจทำให้ถูกมองว่าเป็นตลาดขนาดเล็กและไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนักหากเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนชาติอื่นๆ แต่ข้อดีของบรูไนคือการเป็นประเทศที่มีความมั่นคงสูงทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ อันจะเห็นได้จากรายได้เฉลี่ยของประชากรต่อคนต่อปีสูงเป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ ซึ่งจากการประมาณการรายได้ต่อหัวของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (International Monetary Fund) ในปี 2554 พบว่าสูงถึง 36,583 ดอลลาร์สหรัฐ มากกว่ารายได้ต่อหัวของคนไทยเกือบ 6 เท่า รายได้หลักของบรูไนมาจากการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้มากเป็นอันดับ 4 ของโลก โดยบรูไนส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่สินค้านำเข้าเป็นอาหารทางการเกษตร เช่น ข้าว ผลไม้สดแช่แข็ง น้ำตาลทราย เสื้อผ้า ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ประชากรในบรูไนจะมีรายได้ต่อหัวสูงและมีดุลการค้าเกินดุลมาโดยตลอด สำหรับโอกาสทางธุรกิจหรือการลงทุนในบรูไนนั้น ประเทศบรูไนได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ปลอดภัยที่สุดในเอเชีย การเมืองมีเสถียรภาพ ประชากรส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในระดับดีเนื่องจากได้รับการศึกษาที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับรัฐบาลบรูไนให้ความสำคัญกับการลงทุนจากต่างประเทศจึงอนุญาตให้มีการลงทุนจากต่างประเทศเกือบทุกสาขา รวมถึงการอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100 % เว้นแต่เฉพาะในอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศและที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารแห่งชาติที่ยังต้องมีผู้ถือหุ้นเป็นชาวบรูไนอย่างน้อยร้อยละ 30 ส่วนการจัดเก็บภาษีเงินได้ของบริษัทต่างชาติจะคำนวณภาษีเฉพาะรายได้ที่เกิดในประเทศบรูไนเท่านั้นในอัตราร้อยละ 30 ซึ่งรัฐบาลบรูไนได้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีกับบริษัทต่างชาติที่ตั้งธุรกิจใหม่ภายใต้โครงการผู้บุกเบิก (The Pioneer Status Program) จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปีรวมถึงได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรกับอุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงานอีกด้วย กิจการที่รัฐบาลบรูไนพยายามเน้นให้เกิดการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ การเกษตรและการท่องเที่ยวอันเป็นกิจการที่ไทยมีความเชี่ยวชาญมากที่สุด ซึ่งในการเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ แห่งบรูไนในฐานะแขกของรัฐบาลเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2555 ได้ทำความตกลงโดยใช้จุดแข็งของทั้งสองประเทศในการทำอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลโดยมีการทำข้อเสนอโครงการร่วมกันเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ให้บรูไนสามารถใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกอาหารไปยังประเทศที่สามได้เนื่องจากประเทศไทยมีผลิตผลทางการเกษตรจำนวนมากกับทั้งมีชื่อเสียงในเรื่องผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมฮาลาลระดับโลก ประเทศไทยและประเทศบรูไนมีความสัมพันธ์อันดีมาโดยตลอด นับตั้งแต่ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรูไนเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดโดยเฉพาะในระดับราชวงศ์ที่มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับราชวงศ์ ผู้นำระดับสูงของรัฐบาลและผู้นำระดับสูงของกองทัพอยู่เสมอ จะเห็นได้จากล่าสุดกับการไปเยือนบรูไนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 24 – 25 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันในฐานะสมาชิกอาเซียนที่กำลังก้าวเข้าสู่การเป็น AEC ว่าจะร่วมกันผลักดันและส่งเสริมการสร้างประชาคมอาเซียนกับขยายขอบเขตความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยอาจไม่นิยมเข้าไปลงทุนในบรูไนมากนัก แต่เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ข้างต้นแล้ว บรูไนอาจเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ผู้ประกอบการไทยจะพิจารณาใช้โอกาสในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในอีก 2 ปีข้างหน้าเพื่อเปิดตลาดการค้าการลงทุนกับประเทศบรูไนก็เป็นได้ ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ดาวโหลดเอกสาร  ...

ธุรกิจมาเลเซียขยายต่อเนื่อง

ธุรกิจมาเลเซียขยายต่อเนื่อง

ธุรกิจมาเลเซียขยายต่อเนื่อง ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ประเทศมาเลเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศสมาชิกที่กำลังก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในอีก 2 ปีข้างหน้านี้เช่นเดียวกับประเทศไทยและประเทศสมาชิกอื่น ประเทศมาเลเซียมีพรมแดนติดกับประเทศไทยบริเวณตอนเหนือของคาบสมุทรมลายู มีประชากรประมาณ 30 ล้านคน ประชากรเหล่านี้นับถือศาสนาที่แตกต่างกัน แต่อย่างที่บางท่านอาจทราบแล้วว่าประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 นับถือศาสนาอิสลาม นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมมาเลเซียเป็นตลาดอาหารฮาลาลขนาดใหญ่ และแม้ว่าภาษาราชการจะเป็นภาษามาเลย์ (Bahasa Malayn) แต่ภาษาอังกฤษและภาษาจีนก็เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศมาเลเซียเช่นกัน มาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดีและประสบความสำเร็จด้วยการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งและเสถียรภาพทางการเมืองในทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการเจริญเติบโตของ GDP ที่แข็งแกร่งทำให้รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะเห็นได้จากสถิติที่ผ่านมา GDP ของประเทศมาเลเซียเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากปี 2553 อยู่ที่ 246.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 287.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 และในปี 2555 ที่ผ่านมา GDP ของประเทศอยู่ที่ 307.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้รายได้ประชากรต่อหัวในปี 2555 สูงตามไปด้วยถึง 16,942 เหรียญสหรัฐฯ จึงจัดว่าเป็นประเทศที่มีรายได้ประชากรปานกลาง – สูง สำหรับนักลงทุนบางท่านที่กังวลต่อผลการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศมาเลเซียปีนี้ว่าจะมีผลกระทบใดๆ ในทางเศรษฐกิจหรือไม่นั้นก็คงได้ทราบผลกันแล้วเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่าพรรคแนวร่วม “บาริซาน เนชั่นแนล” ที่นำโดยพรรค “อัมโน” ของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ทำให้นายนาจิบ ราซัค ดำรงแหน่งนายกรัฐมนตรีต่ออีก 5 ปีหลังจากผูกขาดการปกครองประเทศมานานกว่า 56 ปี จึงมีการคาดการณ์กันว่าอีก 5 ปีต่อจากนี้ก็คงไม่มีความเปลี่ยนแปลงให้เห็นมากนัก แต่หากแม้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงในด้านการเมืองเกิดขึ้นจริงก็มีผลวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่มองว่าความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของมาเลเซียนั้นจะไม่มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจมากนักเนื่องจากที่ผ่านภาคเอกชนของมาเลเซียเป็นส่วนหลักในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศมากกว่านโยบายของทางภาคการเมือง ดังนั้นไม่ว่าใครจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ ธุรกิจมาเลเซียก็สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ในแง่ของการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศนั้น รัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ร้อยละ 100 ในสาขาบริการต่างๆ จำนวนมาก ครอบคลุมบริการด้านการท่องเที่ยว สุขภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ การขนส่ง รวมถึงการลงทุนในศูนย์กระจายสินค้าระดับภูมิภาค ธุรกิจนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ในตลาดล่วงหน้า (Future brokerage firms) ผู้จัดการกองทุนบริหารสินทรัพย์ในตลาดล่วงหน้า (Future fund managers) และผู้ให้คำปรึกษาการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า (Futures trading advisers) ทั้งนี้ภายใต้แผนงานการพัฒนาประเทศมาเลเซีย ปี พ.ศ. 2551 – 2563 รัฐบาลมาเลเซียได้กำหนดสาขาเศรษฐกิจหลักแห่งชาติไว้ 12 สาขา (National Key Economic Areas: NKEAs) อาทิ น้ำมัน ก๊าซ และพลังงาน น้ำมันปาล์ม บริการทางการเงิน ท่องเที่ยว บริการทางธุรกิจ อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ค้าส่งและค้าปลีก การศึกษา การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น ซึ่งหากลงทุนในสาขาดังกล่าวก็จะได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษ ตัวอย่างบริษัทขนาดใหญ่ของไทยที่เข้าไปลงทุนทำธุรกิจในประเทศมาเลเซียแล้ว ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง (มาเลเซีย) จำกัด หรือ ซีพีมาเลเซีย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ที่เข้าไปลงทุนในมาเลเซียกว่า 40 ปีแล้ว ทำให้ปัจจุบันธุรกิจอาหารแปรรูปของซีพีในมาเลเซียมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 รองจาก KFT เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีบริษัทสามารถ ไอโมบาย จำกัด (มหาชน) ผู้จำหน่ายโทรศัพท์มือถือยี่ห้อไอ-โมบาย ที่ประสบความสำเร็จอย่างดีมาตลอดกับการทำธุรกิจในมาเลเซีย จากการที่ประเทศมาเลเซียมีเศรษฐกิจที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุนไทยที่จะพิจารณาเข้าไปลงทุนในประเทศมาเลเซีย ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com...

Do Skilled Labor know about AEC benefits?

Do Skilled Labor know about AEC benefits? According to agreements between member countries of ASEAN Economic Community (AEC), in 2015 at AEC will cause free flow of labor especially skilled labor or professionals among AEC members. To explain this, all AEC members have recognized and agreed in Mutual Recognition Arrangements (MRA) for seven professional fields which consist of engineering services, nursing services, architectural services, surveying qualifications, medical practitioners, dental practitioners and accountancy services. These seven professional fields can work across AEC country members freely under MRA. However, skilled workers must register their profession, or obtain job certification, or pass specific job tests of the host nation. Many countries have begun to preparing their people to meet a good opportunity and to be able to race in AEC Market. In Thailand case, education system in Thailand has produced substantial number of graduators from 7 professional fields into labor market in every year. It can be expected that Thailand will not lack professionals or skilled labors in Thailand. However, it is not easy for Thai skilled labor to be success in AEC labor market. Based on the current research from University of Thai Chamber of Commerce (UTCC), Thailand had yet to prepare for the new challenges that will be presented by the AEC. Many Thai labors are still in lack of understanding about AEC and they see AEC in the way that is not much benefit for them. In addition, many Thai professionals do not prefer to work abroad and do not want to compete with other country members in AEC. It can be seen from the research that only 50 per cent of dental practitioners in Thailand had a good understanding of the AEC but most of them saw no real benefit from AEC to their careers. Similarly with architecture, half of Thai architects are still in lack of a good understanding of AEC and recognize its benefits. However, they see it as a good opportunity to work abroad, especially in Brunei, Cambodia, Laos, Myanmar and Vietnam. However, medical practitioners are different from dentists and architectures. It can be seen that 50 percent of medical practitioners did anticipate and hope to enjoy some benefits from...