AEC Advisor in Asian Economic Community of ASEAN Countries

History of AEC

History of AEC

Posted by on May 30, 2013

At Ninth Summit in October 2003, the Association of South East Asian Nations (ASEAN) has established regional cooperation on the three pillars of security and socio cultural and economic integration. It has made most progress in economic integration and aims to create an ASEAN Economic Community (AEC) as one of the three pillars by...

Read More

AEC BLUEPRINT

AEC BLUEPRINT

Posted by on May 30, 2013

AEC Blueprint provides a strategic plan both short and medium terms toward 2015 for ASEAN member states, including strategic schedule with key milestones for a comprehensive and deeper economic integration by...

Read More

About Us

Posted by on Sep 2, 2013

AEC Advisor team consists of business advisors, financial advisors, legal advisors, lawyers and accountants. AEC Advisor has offices, correspondence office and connection of professional colleagues trading companies and successful businessmen throughout AEC member Countries. AEC Advisor has strong team of experienced professionals in the above fields who can provide exceptional services in all related fields including but not limit to, assisting in investing in each AEC country members which are Thailand, Brunei, Myanmar, Lao, Vietnam, Indonesia, Malaysia, Singapore, Philippines and Cambodia, assisting in company set up and complying with laws and regulations of each AEC country members, applying for related business licenses for AEC investors. As channels to support our clients, AEC Advisor also has good connection with several reputable business sectors and officials in the ten AEC member countries. Furthermore, our team has first-hand experience and reputable for writing AEC business articles that have been published in well-known newspapers and magazine every week. Therefore, we are fully confident to give solid business, management, legal and accounting assistance and advice for our clients who want to invest in various business sectors...

Read More

Our Services

Posted by on Sep 2, 2013

AEC Advisor provides services and assistance investing in ASEAN Countries which are Thailand, Brunei, Myanmar, Lao,Vietnam, Indonesia, Malaysia, Singapore, Philippines and Cambodia. Services of AEC Advisor include giving advice on business matching, joint venture, purchase and sale of shares, purchase and sale of assets, merger and acquisition, choices of investment.  AEC Advisor also assists in company set up and complying with laws and regulations of each AEC country members.  AEC Advisor applies for related business licenses for AEC investors.  AEC Advisor helps negotiating agreements and drafting contracts for our...

Read More

Recent Posts

มาตรการกีดกันทางการค้า

มาตรการกีดกันทางการค้า

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com การเปิดเสรีทางการค้าเมื่อสมาชิกอาเซียนตกลงเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้น ด้านการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศสมาชิก AEC ด้วยกันจะต้องมีการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีและไม่มีการจัดเก็บภาษีระหว่างกัน ทั้งนี้ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศสามารถออกมาตรการอื่นๆ เพื่อปกป้องสวัสดิภาพของประชากรในประเทศตนได้หากมาตรการดังกล่าวตั้งอยู่บนหลักการไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discriminatory Basis) และไม่ใช่มาตรการทางภาษี ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวเรียกว่า “อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี” หรือ Non-Tariff Barriers (NTB) อย่างไรก็ดี NTB นี้สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือปกป้องอุตสาหกรรมภายในของแต่ละประเทศแทนมาตรการทางภาษี อันส่งผลให้สินค้าที่ผลิตในประเทศมีข้อได้เปรียบสินค้านำเข้าซึ่งอาจทำให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิก AEC ไม่เป็นไปอย่างเสรีและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) นั้นสามารถจำแนกได้เป็น 8 ประเภทด้วยกันได้แก่ (1) มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping: AD) (2) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Counter-Vailing Duty: CVD) (3) มาตรการปกป้องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard) (4) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary: SPS) (5) มาตรการอุปสรรคเทคนิคทางการค้า (Technical Barrier to Trade: TBT) (6) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม (7) มาตรการด้านแรงงาน (8) มาตรการรูปแบบอื่นๆ เช่น การจัดซื้อโดยรัฐ การกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนต่างดำเนินการตาม AEC Blue Print ที่เป็นแนวทางของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยแต่ละประเทศได้ลดอัตราภาษีนำเข้าในสินค้าและบริการประเภทต่างๆ อย่างต่อเนื่องตาม AEC Blue Print แต่เมื่ออัตราภาษีลดลงกลับพบว่าอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศกลับเพิ่มขึ้นแทนมาตรการทางภาษี ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎระเบียบการขออนุญาตนำเข้าสินค้าที่ยุ่งยากและมากขึ้น การกำหนดมาตรฐานอาหาร มาตรฐานแรงงานหรือสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น หรือการกำหนดจุดนำเข้าสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้หากมีการใช้อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมากเกินความจำเป็นก็ถือเป็นการกีดกันทางการค้าแบบแอบแฝงนั่นเอง ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศมีการออกกฎระเบียบการนำเข้าสินค้า การกำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้าตลอดจนกฎระเบียบในรูปแบบอื่นๆ เป็นจำนวนมาก เช่นกรณีประเทศอินโดนีเซียที่มีการออกกฎระเบียบและมาตรการกีดกันทางการค้า (Protectionist Measures) มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในโลกรองจากประเทศอินเดียและตุรกี ทั้งยังเป็นประเทศที่มีการออกมาตรการกีดกันทางการค้ามากที่สุดในอาเซียน (จากการรายงานขององค์การการค้าโลก) อินโดนีเซียมีการกำหนดให้สินค้าข้าวหอมมะลิต้องมีวัตถุประสงค์พิเศษในการนำเข้า เช่น นำเข้าเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าพร้อมขอการรับรองจากกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียก่อนและขออนุญาตจากกระทรวงการค้าของอินโดนีเซียในแต่ละรอบขนส่ง นอกจากนี้ยังมีมาตรการกำหนดให้หอมหัวแดงที่นำเข้าต้องผ่านการตัดรากและตัดจุกออกก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออกไทยทั้งยังทำให้หัวหอมนั้นเน่าเสียเร็วอีกด้วย อีกทั้งยังมีกรณีประเทศฟิลิปปินส์ที่กำหนดให้สินค้าไก่สดและไก่แช่แข็ง เนื้อวัวสดและแช่เย็น เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการตรวจรับรองโรงงานจากหน่วยงานของฟิลิปปินส์ ทั้งนี้แม้ไทยจะได้รับการยกเว้นให้นำเข้าเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 แต่ขณะนี้ฟิลิปปินส์ก็ยังมิได้ออกหนังสืออนุญาตให้ การใช้อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศนั้นส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนการขนส่งหรือขั้นตอนการขอใบอนุญาต เมื่อสินค้านำเข้ามีต้นทุนที่สูงขึ้น ความสามารถในการแข่งขันกับสินค้าภายในประเทศผู้นำเข้าที่มีต้นทุนถูกกว่าก็จะต่ำลงไปด้วยเพราะมีราคาที่สูงกว่าสินค้าในประเทศ จากปัญหาการกีดกันทางการค้าดังกล่าวนักวิชาการหลายฝ่ายได้เสนอให้อาเซียนหารือให้ชัดเจนเกี่ยวกับการออกมาตรการทางการค้าที่มีผลต่อการค้าภายในภูมิภาคว่าสามารถใช้อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อปกป้องสวัสดิภาพของประชากรแต่ละประเทศได้มากน้อยเพียงใด อะไรที่ถือเป็นการกีดกันทางการค้าที่ห้ามประเทศสมาชิกกำหนดมาตรการเหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้ตั้งหน่วยงานเพื่อตรวจสอบการดำเนินมาตรการที่ถือเป็นการกีดกันทางการค้าต่อประเทศสมาชิก AEC ด้วยกัน เพื่อให้การค้าภายใต้ AEC เป็นไปอย่างเสรีตรงตามเจตนารมณ์ของ AEC และทำให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิก AEC ขยายตัวเพิ่มขึ้นอันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคต่อไป แม้จะมีการตกลงให้เปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนแล้วก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติการเปิดการค้าเสรีนั้นอาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศมีรายได้จากการเก็บภาษีจากข้างนอก ดังนั้นนโยบายของประเทศเหล่านั้นจึงไม่เป็นไปตามนโยบายของอาเซียน ประเด็นนี้คงต้องมีการทำความเข้าใจและโน้มน้าวให้ประเทศเหล่านั้นเข้าใจว่าแม้การเปิดเสรีจะทำให้รายได้ของประเทศที่ได้จากการเก็บภาษีศุลกากรลดลงแต่ประเทศก็จะมีรายได้จากการเก็บภาษีด้านอื่นสูงขึ้น เช่น เก็บภาษีเงินได้ (Sales Tax) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้มากขึ้นเมื่อมีการซื้อขายกันมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้หากสินค้าที่นำเข้ามาเป็นวัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่โรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปและส่งออกอีกต่อหนึ่ง มูลค่าของสินค้าดังกล่าวก็จะสูงขึ้นเมื่อขายไปแล้วผู้ประกอบการจะได้กำไรเพิ่มขึ้น รัฐก็จะได้ภาษีเพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง สิ่งเหล่านี้คือเรื่องประเด็นที่ต้องมีการทำความเข้าใจแก่รัฐบาลและประชาชนทุกระดับ...

ประชุมสุดยอดอาเซียน

ประชุมสุดยอดอาเซียน

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com การประชุมผู้นํา 10 ชาติสมาชิกอาเซียนหรือเรียกเป็นทางการว่า “ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน” หรือ ASEAN SUMMIT จัดขึ้นโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) หรืออาเซียน (ASEAN) ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพรวมถึงความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน การประชุมสุดยอดอาเซียนหรือ ASEAN SUMMIT ครั้งแรกจัดขึ้นที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี พ.ศ. 2519 หลังจากนั้นก็มีการจัดประชุมเรื่อยมาโดยต่างหมุนเวียนกันเป็นประเทศเจ้าภาพในการจัดการประชุม จนถึงปัจจุบันการประชุมสุดยอดอาเซียนได้เดินทางมาถึงครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา การประชุมครั้งนี้จัดขึ้น ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบการ์วัน ประเทศบรูไน โดยประเด็นสำคัญในการหารือครั้งนี้เน้นไปที่ความพยายามในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นความพยายามสานต่อเพื่อให้ได้ข้อตกลงร่วมกันถึงบทบาทของ ASEAN กับจีนกรณีพิพาทหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ที่เชื่อกันว่าอุดมไปด้วยน้ำมันและก๊าซ ทั้งยังเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากจีนอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ในทะเลจีนใต้ ขณะที่ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไนรวมทั้งไต้หวันต่างอ้างสิทธิเหนือพื้นที่บางส่วนในทะเลจีนใต้เช่นกัน ซึ่งภายหลังการประชุมที่ใช้เวลา 2 วันสิ้นสุดลงได้ข้อสรุปว่าผู้นำชาติอาเซียนต้องการเร่งจัดทำหลักปฏิบัติ หรือ Code of Conduct แก่จีนเพื่อที่จะลดความตึงเครียดในน่านน้ำที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์นี้ นอกจากประเด็นเรื่องการอ้างสิทธิในทะเลจีนใต้แล้ว ผู้นำอาเซียนยังได้หารือถึงความตึงเครียดบริเวณคาบสมุทรเกาหลี โดยกลุ่มผู้นำอาเซียนต่างเดินหน้าสนับสนุนเพื่อเรียกร้องให้คาบสมุทรเกาหลีเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งประธานในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ได้แถลงข้อเรียกร้องของอาเซียนที่ต้องการให้เกาหลีเหนือปฏิบัติตามพันธกรณีของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอย่างเต็มรูปแบบและเรียกร้องคำมั่นสัญญาที่เกาหลีเหนือได้ให้ไว้ในการเจรจา 6 ฝ่ายเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 นอกจากนี้บรรดาผู้นำอาเซียนได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะรักษาเอเชียใต้ให้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธอื่นๆ ที่มีกำลังทำลายล้างสูงอีกด้วย แม้ว่าในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ผ่านไปจะยังไม่ได้เห็นบทสรุปที่เป็นรูปธรรมมากนัก รวมไปถึงการที่มีนักวิเคราะห์มองว่าข้อเรียกร้องของอาเซียนต่อจีนที่จะให้จีนเห็นชอบกับหลักปฏิบัติทางทะเลที่มีผลผูกพันตามกฎหมายหรือ Code of Conduct นั้นอาจไม่สัมฤทธิ์ผล เนื่องจากในอดีตอาเซียนและจีนได้เคยเห็นพ้องกันในการจัดทำหลักปฏิบัติเมื่อปี 2545 แต่นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจีนได้ปฏิเสธที่จะหารือถึงการจัดทำหลักปฏิบัติใดๆ อีก ถึงกระนั้นก็ตามการประชุมในครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จในแง่ของความเป็นเอกภาพในทางความคิดของผู้นำอาเซียนที่จะรักษาสันติภาพให้เกิดขึ้นในภูมิภาคไม่ให้เกิดการนองเลือดทั้งกับกรณีข้อพิพาทในทะเลจีนใต้กับข้อพิพาทระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ สันติภาพดังกล่าวจะนำไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยของประชาชนในชาติ ซึ่งเมื่อถึงปี ค.ศ. 2015 อยากให้ประชากรในอาเซียนกว่า 600 ล้านคนมีความรู้สึกว่าต่างเป็นพี่น้องและเป็นครอบครัวเดียวกันในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ...

การลงทุนในอินโดนีเซีย

การลงทุนในอินโดนีเซีย

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ประเทศอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเข้าไปลงทุนด้วยเม็ดเงินที่สูงเนื่องจากประเทศอินโดนีเซียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 3 ในเอเชียโดยเป็นรองแค่จีนและอินเดียเท่านั้น ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจของอินโดนีเซียซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 6.5% ในปีหน้า นอกจากนี้บรรดาสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agency: CRA) ทั้ง Moody’s Investors Service และ Fitch Ratings ต่างปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศอินโดนีเซียขึ้นมาอยู่ในระดับ Investment Grade จากเดิมอยู่ในระดับ Non-Investment Grade มากว่า14 ปี อันดับความน่าเชื่อถือที่สูงขึ้นนี้คือหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยดึงดูดให้นักลงทุนทั่วโลกสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศอินโดนีเซียมากยิ่งขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวประกอบกับการที่อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเต็มตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทำให้อินโดนีเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนทั่วโลก สำหรับนักลงทุนไทยนั้นประเทศอินโดนีเซียถือเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่น่าเข้าไปลงทุนด้วยปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการ เช่น ขนาดตลาดของอินโดนีเซียที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรสูงถึง 250 ล้านคน ทำให้มีความต้องการสินค้าปริมาณมาก โดยเฉพาะสินค้าประเภทอุปโภค บริโภคของไทยซึ่งเป็นที่นิยมสูงในหมู่ชาวอินโดนีเซีย เนื่องจากชาวอินโดนีเซียมีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าไทยและมักมองสินค้าไทยว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสมราคา ปัจจุบันมีสินค้าแบรนด์ไทยที่วางขายในอินโดนีเซียหลายยี่ห้อ เช่น สาหร่ายเถ้าแก่น้อย ถั่วทองการ์เด้น เป็นต้น นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เช่น น้ำมัน เหมืองแร่และถ่านหิน ทำให้ที่ผ่านมามีบริษัทใหญ่ๆ หลายรายเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย เช่น บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เครือซีเมนต์ไทย (SCG) รวมไปถึงเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ที่เข้าไปลงทุนในกิจการอาหารสัตว์ นอกจากนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียยังมีลักษณะคล้ายคลึงกับของคนไทยหลายประการ เช่น นิยมช่องทางจำหน่ายสินค้าที่เข้าถึงได้สะดวกและมีการบริการที่รวดเร็ว เนื่องจากชาวอินโดนีเซียต้องเผชิญกับปัญหาสภาพการจราจรที่ติดขัดเช่นเดียวกับชาวไทย โดยเฉพาะในสภาพการจราจรในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซียที่ติดอันดับ 10 เมืองที่มีปัญหาการจราจรรุนแรงที่สุดของโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา ปัญหาการจราจรนี้ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียต้องการความรวดเร็วและความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตประจำวันจึงนิยมซื้อสินค้าจากแหล่งจัดจำหน่ายที่เข้าถึงง่ายอย่างร้านสะดวกซื้อ นิยมรับประทานอาหารที่สามารถรับประทานได้รวดเร็ว เช่น อาหารพร้อมปรุง พร้อมรับประทานต่างๆ อย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งปัจจุบันตลาดผู้บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของอินโดนีเซียนั้นใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียยังมีพฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ตอีกด้วย โดยชาวอินโดนีเซียใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 1.5 ชั่วโมงต่อวัน และนิยมค้นหาข้อมูลสินค้าบนสื่ออินเตอร์เน็ตและสังคมออนไลน์เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า การทำตลาดบนสื่อออนไลน์จึงมีความสำคัญค่อนข้างมากในปัจจุบันเช่นเดียวกับผู้บริโภคชาวไทยที่การตลาดบนสื่อออนไลน์โดยเฉพาะบรรดาสังคมออนไลน์อย่าง Facebook หรือ Instagram ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก แม้อินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่น่าลงทุนเพียงใดแต่ก็ยังมีอุปสรรคการลงทุนบางประการที่ผู้ประกอบการไทยซึ่งจะเข้าไปลงทุนควรเตรียมความพร้อมก่อนเข้าไปทำธุรกิจ อาทิ การแข่งขันที่ค่อนข้างสูงในภาคธุรกิจทั้งจากผู้ประกอบการท้องถิ่นและนักลงทุนต่างชาติ ระบบราชการของอินโดนีเซียที่ช้ายิ่งกว่าระบบราชการไทย โดยการติดต่องานราชการอินโดนีเซียต้องใช้เวลานานมาก ยกตัวอย่างเช่น การตั้งบริษัทใหม่ต้องใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 – 1.5 เดือนเมื่อเทียบกับประเทศไทยที่ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายของอินโดนีเซียก็ยังไม่มีประสิทธิภาพ กฎระเบียบด้านการลงทุนของอินโดนีเซียก็มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่างๆ ก็ยังล้าหลังพอสมควรเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนหลายๆ ประเทศอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ซึ่งปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้ของอินโดนีเซียต้องมีการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วเพื่อรับการลงทุนจากต่างประเทศและรองรับการเปิด...

AEC ในความรู้สึกของคนไทย

AEC ในความรู้สึกของคนไทย

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2015 หรืออีกแค่ 3 ปีข้างหน้าเท่านั้น AEC มีเป้าหมายสำคัญคือ การที่จะให้ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกร่วมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีเสรีภาพในการลงทุนระหว่างประเทศ และก่อเกิดการกระจายตัวของแรงงานมีฝีมือในระหว่าง 10 ประเทศสมาชิก AEC ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่างต่อทั้ง 10 ประเทศสมาชิกในอนาคต คนไทยบางคนอาจกังวลในผลกระทบที่จะตามมาจากการเกิดขึ้นของ AEC หรืออาจตีความเป้าหมายของ AEC คลาดเคลื่อนออกไปจากความเป็นจริง อาทิ บางคนกลัวว่า AEC จะทำให้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว บาง คนกลัวโดนแย่งงานโดยแรงงานต่างด้าว บางคนกลัวว่าการรวมตัว AEC จะล้มเหลวแบบสหภาพยุโรป (EU) ขณะที่บางคนก็ยังไม่เข้าใจเลยว่า AEC คืออะไร ในความเป็นจริงแล้วนั้น ผู้ที่กังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเข้าใจผิด เนื่อง จากการเกิดขึ้นของ AEC จะไม่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะการเปลี่ยนแปลงใน AEC จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงในแต่ละอย่างของอาเซียนจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมี ฉันทามติร่วมกันจากชาติสมาชิกทั้ง 10 ประเทศเสียก่อน ซึ่งแต่ละชาติสมาชิกก็จะต้องตรวจสอบว่ามีกฎหมายของชาติตนเองจำกัดไว้หรือไม่ ในแต่ละเรื่อง ทำให้การดำเนินการใด ๆ ระหว่างสมาชิก AEC ค่อนข้างล่าช้า และไม่ได้รวดเร็วแบบ EU ที่มีสภาพิเศษ Supra-National Authority ที่มีอำนาจในการตัดสินใจแทนชาติสมาชิกทั้งหมด นอกจากนั้น การที่ AEC จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยเสรี ทำให้คนไทยบางส่วนกลัวตกงานเพราะต่างชาติเข้ามาแย่งงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเคลื่อนย้ายแรงงานนั้นจะทำได้เฉพาะ วิชาชีพ 8 สาขา ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ช่างสำรวจ และท่องเที่ยว (ยกเว้นมัคคุเทศก์) ภายใต้ข้อตกลงการยอมรับร่วมกัน (MRAs) เท่านั้น ในข้อตกลงระบุว่า แรงงานจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักวิชาชีพอาเซียน และผู้ที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้จะต้องผ่านการสอบความรู้และมาตรฐาน วิชาชีพที่เป็นภาษาไทย ทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยจึงยังไม่เกิดขึ้น ในทันทีเมื่อ AEC เกิดขึ้น อีกประเด็นที่คนไทยยังเข้าใจผิด คือ การรวมตัวของ AEC ในอนาคตอาจจะประสบปัญหาเศรษฐกิจแบบที่สหภาพยุโรป (หรือ European Union : EU) เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ โครงสร้างของ AEC แตกต่างจาก EU มาก เพราะ EU ค่อนข้างบังคับสมาชิก โดยให้นโยบายทางด้านเศรษฐกิจและการค้าของประเทศสมาชิกเหมือนกันทั้งหมด ในขณะที่ AEC อาศัยความร่วมมือเป็นหลัก และสมาชิกจะไม่มีการบังคับเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ ทั้ง 10 ประเทศ สมาชิก AEC จึงมีอิสระที่จะกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจเอง นอกจากนั้น AEC เป็นแต่เพียงตลาดสำหรับกระจายแรงงานมีฝีมือเสรีเท่านั้น ส่วน EU นั้นแรงงานทุกประเภทสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีทั้งหมด นอกจากนั้น สกุลเงินที่ใช้ใน EU กับ AEC ยังมีความแตกต่างกันออกไป สำหรับ EU นั้นประเทศสมาชิกต้องใช้เงินสกุลเดียวกัน แต่สำหรับ AEC ประเทศสมาชิกยังคงไว้ซึ่งสกุลเงินในประเทศตน ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่า AEC มีความเป็นอิสระมากกว่า EU หากสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่งประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เชื่อว่าประเทศสมาชิกที่เหลือจะไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงเท่ากับที่ประเทศ สมาชิกในกลุ่ม EU จะมีต่อกัน ล่าสุดมีผลรายงานยืนยันการตีความหรือ การเข้าใจผิดในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับ AEC ของคนไทย โดยตามผลรายงานพบว่า มากกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.28 ของกลุ่มคนไทยตัวอย่างที่ไปสำรวจมา ยังไม่ทราบว่า AEC ย่อมาจากอะไร และมีความหมายว่าอย่างไร ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวยังได้แสดงให้เห็นอีกว่า ร้อยละ 30.15 หรือประมาณเกือบ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างที่ไปสำรวจมา ยังไม่มีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ AEC นอก จากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 86.25 ระบุว่า AEC ในความเข้าใจของตนเองคือ การที่ประชาชนในประเทศเดินทางไปลงทุน ดำเนินธุรกิจ หางานทำ หรือศึกษาต่อในประเทศสมาชิกในกลุ่มได้อย่างเสรี ขณะที่ร้อยละ 83.42 ของกลุ่มตัวอย่าง ระบุว่า AEC ในความเข้าใจของตนคือ การที่รัฐบาลของประเทศในกลุ่มได้ต่อรองผลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และอีกร้อยละ 81.15 มองว่า AEC กับการที่รัฐบาลของประเทศในกลุ่มได้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งความคิดดังกล่าวเป็นความเข้าใจเกี่ยวกับ AEC ที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด แม้ รัฐบาลไทยจะได้เตรียมความพร้อมทางด้านนโยบายในด้านต่าง ๆ ให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับชาติอื่น ๆ ในตลาด AEC ได้เป็นอย่างดี แต่หากประชาชนของไทยยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องกับ AEC หรือมีความกลัวที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC แล้ว แนวนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลวางแผนไว้สำหรับต้อนรับ AEC อาจสูญเปล่า เพราะประเทศไทยอาจ ไม่ประสบความสำเร็จกับ AEC ที่กำลังจะมาถึง ดังนั้น รัฐบาลควรจะทำการบ้านอย่างหนักในการเร่งให้ความรู้และพัฒนาให้คนในชาติมี ความรู้ที่ดีเกี่ยวกับ AEC เท่าที่จะเป็นไปได้ ก่อนที่ AEC จะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com            ...

ลงทุนทวาย 3 ชาติ

ลงทุนทวาย 3 ชาติ

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com โครงการทวายเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติมาก เนื่องจากโครงการทวาย (Dawei Development) เป็นโครงการที่รัฐบาลพม่าถือว่าเป็นโครงการระดับเมกะโปรเจ็กต์ของชาติ จึงมีการออกกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) เพื่อยกระดับ จังหวัดทวาย เป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone) และให้สิทธิประโยชน์หลาย ๆ อย่างแก่นักลงทุน นอกเหนือจากนี้ ก็เพื่อเป็นการดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในโครงการทวาย อย่างไรก็ดี นักลงทุนรายแรกที่ได้สัมปทานเข้าไปพัฒนาพื้นที่ก็คือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (Italian-Thai Development Public Company Limited : ITD) บริษัทสัญชาติไทยนั่นเอง โดยได้เข้าไปพัฒนาโครงการในนามบริษัทลูกที่ชื่อ บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (Dawei Development Company Limited : DDC) ภายใต้ขอบข่ายความตกลงระหว่างบริษัท ITD และการท่าเรือแห่งสหภาพพม่าในปี 2553 เมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมารัฐบาลไทยและพม่าได้มีการทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการขยายความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า อันเป็นการยกระดับความร่วมมือในการพัฒนาโครงการทวาย จากเดิมที่เป็นการทำสัญญาระหว่างเอกชน อันได้แก่ บริษัท ITD กับรัฐบาลพม่า กลายเป็นความร่วมมือระดับ “รัฐต่อรัฐ” (G to G) แทน ทั้งนี้ บริษัท ITD ยังคงร่วมลงทุนพัฒนาโครงการทวายด้วยเช่นเดิม แต่มีรัฐบาลไทยเข้ามาให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงด้านเม็ดเงินลงทุน ซึ่งโครงการทวายต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก เนื่องจากการพัฒนาในระยะแรกเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ซึ่งจากข่าวที่ปรากฏทราบกันดีว่า “ทวายโปรเจ็กต์” หรือโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายมีมูลค่า 3 แสนล้านบาท เป็นโครงการลงทุนใหญ่ติดอันดับโลก ทั้งเป็นที่หมายตาของชาติมหาอำนาจเศรษฐกิจเอเชีย คือ จีน และญี่ปุ่น ที่ต่างต้องการร่วมโครงการ อย่างไรก็ดี จากการให้สัมภาษณ์ของกรรมการผู้จัดการ บริษัท ITD รูปร่างของการร่วมลงทุนดูจะเห็นชัดมากขึ้น โดยการร่วมลงทุนในทวาย น่าจะเป็นไปในลักษณะ 3 ชาติร่วมกัน ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย และญี่ปุ่น นั่นเอง จากการเยือนประเทศไทยล่าสุดของ นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ภารกิจสำคัญอันหนึ่งในการเดินทางมาครั้งนี้ คือ ความร่วมมือเร่งรัดผลักดันโครงการทวาย โดยเฉพาะการหาแหล่งเงินลงทุนจากญี่ปุ่นในอัตราเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ผ่านองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า ไม่นับรวมสถาบันการเงินอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นได้ยกหนี้บางส่วนให้รัฐบาลเมียนมาร์ พร้อมเสนอวงเงินกู้ให้ ขณะที่รัฐบาลเมียนมาร์ให้สิทธิ์ญี่ปุ่นในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือที่ติละวา นิคมอุตสาหกรรมสำคัญตอนใต้กรุงย่างกุ้ง และมีการนำทีมนักธุรกิจญี่ปุ่นลงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายด้วย ญี่ปุ่นให้ความสนใจพื้นที่ทวายเป็นพิเศษสำหรับเป็นที่ตั้งโรงงานผลิตเหล็กต้นน้ำ เพื่อส่งวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ตั้งฐานผลิตในไทย และนิคมยังเป็นแหล่งที่ตั้งโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ทุนญี่ปุ่นในอนาคตอีกด้วย เหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นความสำคัญยิ่งของโครงการทวายในสายตาญี่ปุ่น ประกอบกับการหารือระหว่าง นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย และ นายโชสุเกะ โมริ ประธานสมาพันธ์ธุรกิจคันไซจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นยังให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในไทยมาก โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน รวมไปถึงการลงทุนในโครงการทวายด้วย คาดว่าจะสามารถสรุปรายละเอียดการลงทุนได้ภายในเดือนมีนาคม 2556 ที่จะถึงนี้ นอกจากนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นแล้วยังมีกลุ่มนักลงทุนจากประเทศจีนที่ให้ความสนใจเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการทวายเช่นกัน อย่างไรก็ดี มูลค่าการลงทุนที่ฝ่ายญี่ปุ่นเสนอเฉลี่ยสูงกว่ามูลค่าการลงทุนของนักลงทุนจีนถึง 3 เท่า ทำให้รัฐบาลไทยต้องพิจารณาถ่วงดุลการเป็นพันธมิตรกับนักลงทุนทั้ง 2 ประเทศอย่างรอบคอบ สำหรับรูปแบบการร่วมลงทุนเพื่อระดมทุนจากนักลงทุนนั้นค่อนข้างเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า จะมีการจัดตั้ง นิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) ในลักษณะที่เป็น บริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชน ขึ้นในประเทศไทย ในเบื้องต้นฝ่ายไทยจะถือหุ้นใน SPV ทั้งหมดร้อยละ 50 ในขณะที่หุ้นที่เหลือจะเป็นของประเทศเมียนมาร์ และญี่ปุ่นตามลำดับ โดยส่วนของประเทศญี่ปุ่นนั้นรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ต้องหารือกับทางฝ่ายญี่ปุ่นเกี่ยวกับข้อสรุปสัดส่วนการถือหุ้นใน SPV ให้ชัดเจนอีกทีก่อน ทั้งนี้ ในส่วนหุ้นของฝ่ายไทยนั้นรัฐบาลจะถือหุ้นร้อยละ 26 จากหุ้นร้อยละ 51 ดังกล่าว ส่วนที่เหลือจะเป็นหุ้นของบริษัท ITD ซึ่งจะถือจำนวนเท่าใดก็ได้ แต่ไม่เกินร้อยละ 25 การตั้ง SPV นี้ต้องใช้เวลาการจัดตั้ง 6-8 เดือนโดยประมาณ เนื่องจากต้องมีการยกร่างกฎหมายจัดตั้งและจัดทำบันทึกข้อตกลงต่าง ๆ โดยเมื่อจัดตั้งแล้ว SPV นี้จะทำหน้าที่เป็น Holding company ที่จะมีนิติบุคคลย่อย ๆ (SPCs) อีก 8 บริษัทด้วยกัน เพื่อลงทุนในแต่ละสาขาโดยเฉพาะ รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงทุนในโครงการทวายนี้น่าจะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ภายหลังการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวเนื่อง (JCC) ครั้งต่อไป ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2556 ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com...

เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด

เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com การพัฒนาเมืองชายแดนแม่สอดได้รับความสนใจจากทั้งภาครัฐและเอกชนมาหลายปีแล้ว โดยเมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้มีการวางแนวทางการพัฒนาไปสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษ พร้อมอนุมัติงบประมาณสนับสนุน เพื่อการพัฒนาไปสู่ เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรก ของประเทศไทย ด้วยเม็ดเงินหลายพันล้านบาท แม้จะมีการวางแนวทางการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 แต่ความคืบหน้าก็เป็นไปอย่างล่าช้า ซึ่งตรงข้ามกับเมืองเมียวดีของพม่าที่เปรียบเสมือนเมืองคู่แฝดกับแม่สอด ที่ขณะนี้ถูกยกระดับขึ้นเป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี เพื่อเตรียมพร้อมรับการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้แถลงว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดตั้งระเบียบดังกล่าว พร้อมมีความเห็นชอบให้อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นพื้นที่นำร่องเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่แรก ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจพิเศษตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึงพื้นที่พิเศษหรือบางส่วนขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นแห่งหนึ่งหรือบางแห่ง และได้รับการสนับสนุนจากรัฐในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการค้าสินค้าและบริการหรือการลงทุน เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการค้าบริเวณพรมแดนและการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียน รวมทั้งการพัฒนาระบบการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จที่สอดคล้องกับระบบ ASEAN Single Window และบทนิยามอื่น ๆ ประโยชน์ของการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ก็คือจะเป็นพื้นที่มีการผ่อนปรนในเรื่องกฎระเบียบการลงทุน และมีการให้สิทธิพิเศษหลายประการแก่นักลงทุน รวมไปถึงสิทธิประโยชน์ด้านภาษี เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษอันเป็นไปตามจุดประสงค์ของเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ยังมีการอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวกด้านข้อมูล การอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม บริการพื้นฐานต่างๆ ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษได้เพียงหนึ่งวัน นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่แม่สอดเพื่อตรวจดูสภาพพื้นที่แม่สอด ตรวจเยี่ยมสภาพสะพานมิตรภาพไทย-พม่า รวมไปถึงฟังบรรยายสรุปเรื่องเขตเศรษฐกิจแม่สอด และสถานการณ์ภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจของจังหวัดตาก ว่าจังหวัดตากมีรายได้เฉลี่ยปีละ 4 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้เทศบาลนครแม่สอดยังเสนอให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนด้านการคมนาคม เพิ่มระบบโลจิสติกส์ อุโมงค์รถไฟเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไป ตาก – แม่สอด รวมถึงการที่จังหวัดได้เตรียมพื้นที่กว่า 500 ไร่ เพื่อสร้างศูนย์กระจายสินค้ารองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทั้งยังเป็นจุดที่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศจีนและอินเดียได้ด้วย ซึ่งคณะรัฐบาลแสดงท่าทีที่เห็นด้วยกับการยกระดับแม่สอดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และ การให้ความสำคัญกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็น AEC นั่นเอง นอกจากนี้ ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และตกลงเลือกให้อำเภอแม่สอดเป็นพื้นที่นำร่องเขตเศรษฐกิจพิเศษแล้ว ก็ได้มีตัวแทนคณะรัฐบาลลงพื้นที่อำเภอแม่สอดเพื่อศึกษาเขตจัดตั้งเศรษฐกิจพิเศษอยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเยือนแม่สอดของ นายไชยา พรหมา ประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ที่เดินทางมาลงพื้นที่ชายแดนไทย – พม่า ดูการส่งสินค้าบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-พม่า รวมไปถึงบริเวณท่าเรือขนส่งสินค้าริมแม่น้ำเมย อำเภอแม่สอด เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลอำเภอแม่สอด พร้อมนำข้อมูลเข้าสู่คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารฯ ของสภาผู้แทนราษฎร นำไปศึกษาการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด และดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐต่อไป ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ เห็นด้วยกับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ให้เป็นตัวอย่างของเขตเศรษฐกิจพิเศษนำร่องก่อนที่จะมีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอื่นๆ ในอนาคต ส่วน นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็เพิ่งเดินทางมาตรวจดูสภาพพื้นที่จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา การเดินทางมาเยือนอำเภอแม่สอดของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ เพื่อติดตามการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ดูช่องทางการค้าชายแดน รวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อศึกษาถึงศักยภาพและความพร้อมของแม่สอดในการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและประตูสู่อาเซียน พร้อมนำข้อมูลทั้งหมดเสนอให้คณะรัฐมนตรีเร่งออกพระราชกฤษฎีกา เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด รวมไปถึงการจัดงบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวต่อไป อำเภอแม่สอด เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นเมืองชายแดนไทย – พม่า ที่การค้าชายแดนเฟื่องฟูมานานหลายปี โดยเฉพาะการค้าผลผลิตทางด้านการเกษตรและการ บริการ ทั้งในส่วนการท่องเที่ยวและการขนส่ง “แม่สอด” ถือเป็นเมืองที่สำคัญบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ East – West Corridor ที่จะสามารถเชื่อมเส้นทางการคมนาคมทางบกไประหว่างอินเดีย ตะวันออกกลาง และยุโรป กับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกได้ การยกระดับ “อำเภอแม่สอด” ให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษจึงเป็นโอกาสอันดีของนักลงทุนไทยและนักลงทุนอาเซียน เมื่อมีการเข้าสู่การเป็น AEC ในอนาคต ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com...

นิติบุคคลเฉพาะกิจทวาย

นิติบุคคลเฉพาะกิจทวาย

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com โครงการทวาย (Dawei Development) เป็นโครงการระดับเมกะโปรเจคของพม่าที่รัฐบาลไทยประกาศว่าจะเข้าร่วมลงทุนและพัฒนาโครงการดังกล่าวกับรัฐบาลพม่าและบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท ITD ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติไทยผู้เป็นเจ้าของสัมปทานเดิมที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาพัฒนาโครงการนี้ โดยได้เข้าไปพัฒนาโครงการในนามบริษัทลูกที่ชื่อ บริษัท ทวาย ดีเวลล็อปเมนต์ จำกัด (Dawei Development Company Limited: DDC) ภายใต้ขอบข่ายความตกลงระหว่างบริษัท ITD และการท่าเรือแห่งสหภาพพม่าในปี 2553 การเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการทวายของรัฐบาลไทยจากการที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าได้มีการทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการขยายความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าเป็นการยกระดับความร่วมมือในการพัฒนาโครงการทวายให้กลายเป็นความร่วมมือระดับรัฐต่อรัฐ (G2G) การที่รัฐบาลไทยและพม่ามีความพยายามในการชักชวนให้ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุนและพัฒนาโครงการทวายทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบการลงทุน การระดมทุน สัญญาสัมปทาน และความตกลงอื่นที่มีขึ้นก่อนหน้านี้ระหว่างรัฐบาลพม่าและบริษัท อิตาเลียนไทยอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้รัฐบาลไทยและพม่าได้มีการหารือระหว่างกันเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุนและการระดมทุนในโครงการทวาย โดยในการประชุมร่วมระหว่างคณะทำงานและคณะอนุกรรมการร่วมระดับสูง 6 ชุด ระหว่างไทยและพม่าเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวเนื่อง (JCC) ได้มีการพิจารณารูปแบบการลงทุนและระดมทุน 2 รูปแบบด้วยกัน รูปแบบแรกคือการจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle: SPV) ขึ้นมา ซึ่ง SPV นี้จะมีสถานะเป็น Holding Company มีการจัดตั้งนิติบุคคลย่อย (SPCs) เพื่อดำเนินการดูแลแยกย่อยไปในแต่ละส่วน (Sector) โครงการ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา เป็นต้น ทั้งนี้ SPV ซึ่งเป็นบริษัทแม่จะเป็นผู้ครอบครองสัมปทานและสิทธิต่างๆ ส่วนรูปแบบที่สองคือการจัดตั้งนิติบุคคลรายย่อย หรือ SPCs แยกออกไปดูแลแต่ละ Sector โดยมีการทำสัญญา Sectorial Agreement แยกต่างหากสำหรับแต่ละ Sector โดยสัมปทานและสิทธิต่างๆ จะเป็นของแต่ละ SPCs ไม่มีบริษัทแม่เป็นผู้ควบคุมดูแล SPCs ดังเช่นรูปแบบแรก หลังจากที่ทั้งฝ่ายไทยและพม่าต่างศึกษาถึงรูปแบบการลงทุนและระดมทุนทั้งสองแบบดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีการหารือกันนอกรอบหลายครั้ง ในการประชุม JCC ครั้งที่ผ่านมาที่ประชุม JCC ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการตามรูปแบบแรกคือการตั้ง SPV ขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบการระดมทุนที่สามารถระดมทุนได้ง่ายกว่า โดยการระดมทุนผ่าน SPV รายเดียว ในขณะที่รูปแบบที่ 2 นั้นมีการจัดตั้ง SPCs ออกเป็นหลายบริษัท มีการทำสัญญาหลายฉบับ การระดมทุนก็จะต้องทำแยกต่างหากกัน ทำให้ระดมทุนได้ยุ่งยากกว่ารูปแบบแรก ทั้งนี้เบื้องต้นได้ข้อสรุปว่า Holding Company ที่จะจัดตั้งขึ้นประกอบไปด้วยผู้ถือหุ้นไม่เกิน 4 กลุ่ม ซึ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่ารัฐบาลไทยและพม่า คือ ผู้ถือหุ้น 2 กลุ่มแรกของโครงการนี้ ส่วนผู้ถือหุ้นกลุ่มที่ 3 นั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเป็นรัฐบาลญี่ปุ่น เนื่องจากการประชุม JCC ครั้งที่ผ่านมามีผู้แทนจากสถานทูตญี่ปุ่นเข้ามาร่วมสังเกตการณ์และยังมีหน่วยงานสำคัญของญี่ปุ่น 2 หน่วยงาน ได้แก่ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) และองค์กรการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) เข้าร่วมประชุม สำหรับผู้ถือหุ้นรายที่ 4 นั้นมีรัฐบาลบางประเทศที่เสนอเข้ามาร่วมลงทุนด้วยแล้วแต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าเป็นประเทศใด ทั้งนี้ข้อเสนอและมติที่ประชุมต่างๆ จะถูกนำเสนอคณะกรรมการระดับสูงของทั้งสองประเทศให้พิจารณา และจะมีการลงนามความร่วมมือเพิ่มเติมระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศเทศในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ นิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ Special Purpose Vehicle (SPV) นี้หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง ผู้จัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจจะเป็นใครก็ได้ ซึ่งอาจเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ต้องการก่อตั้งนิติบุคคลเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ SPV นี้จะจัดตั้งขึ้นเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน บริษัทมหาชน หรือกองทุนก็ได้ โดยการดำเนินงานของ SPV ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างเคร่งครัด SPV นี้นิยมจัดตั้งขึ้นเพื่อระดมทุน ซึ่ง SPV ที่คุ้นเคยกันดี ได้แก่ SPV ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) นั่นเอง สำหรับบทบาทของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือสัมปทานพัฒนาโครงการทวายเดิมนั้นมีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนบทบาทจากเดิมที่มีบทบาทเป็นผู้พัฒนา (Developer) กลายเป็นผู้ลงทุน (Investors) ใน SPCs ต่างๆ ที่จะจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้บทบาทของบริษัท อิตาเลียนไทยจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในการลงนาม MOU ฉบับใหม่ระหว่างรัฐบาลไทยและพม่าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนเมษายนนี้ต่อไป ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ดาวโหลดเอกสาร...

กลยุทธ์การลงทุน (ภาค 2)

กลยุทธ์การลงทุน (ภาค 2)

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ในคอลัมน์ฉบับที่แล้วเราได้พูดถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนของ 5 ประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อันได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนิเชีย มาเลเซีย และลาว ไปแล้ว ในคอลัมน์ฉบับนี้จะขอพูดถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนของ 4 ประเทศสมาชิก AEC กันต่อ เริ่มต้นที่ประเทศเวียดนาม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเวียดนามประสบความสำเร็จในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ทั้งนี้รัฐบาลเวียดนามได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบทางการค้าและการลงทุนให้เกิดความคล่องตัว สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้นและปรับเปลี่ยนนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ จากกิจการร่วมทุนมาเป็นกิจการที่ลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดมากขึ้น โดยภาคธุรกิจที่รัฐบาลเวียดนามให้การสนับสนุน ได้แก่ การท่องเที่ยว การขนส่งโลจิสติกส์ การบริการท่าเรือ ภาคการเกษตร รวมถึงสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ นอกจากนี้เวียดนามยังเตรียมปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีให้เป็นธรรมเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC อีกด้วย รัฐบาลพม่าสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศโดยรัฐบาลพม่าจะเป็นผู้พิจารณาโครงการลงทุนในเบื้องต้น ซึ่งรูปแบบการลงทุนที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล มี 2 รูปแบบ คือ 1.การลงทุนที่ชาวต่างชาติถือทั้งหมดในบริษัท 2.การร่วมทุนซึ่งแบ่งเป็นการร่วมทุนกับรัฐบาลพม่าโดยนักลงทุนต่างชาติสามารถเจรจาขอร่วมลงทุนได้มากกว่า 35% ของมูลค่าเงินลงทุนรวม และการร่วมทุนกับเอกชนพม่าซึ่งนักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนได้ในสัดส่วนน้อยกว่า 35% ของกิจการดังกล่าว นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในลักษณะที่เป็น BOT (Build Operate and Transfer) ในธุรกิจ ประเภทโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ส่วนการลงทุนที่เป็น PSC (Product Sharing Contract) อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนเฉพาะด้านการสำรวจและขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ประโยชน์เท่านั้น นอกจากนั้นพม่ายังได้ปรับระบบการเงินของประเทศใหม่โดยเริ่มจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอัตราลอยตัวแบบมีการจัดการ และการเร่งปรับปรุงระบบการชำระเงินของประเทศให้มีความเป็นสากลยิ่งขึ้น รัฐบาลฟิลิปปินส์มีการออกกฎหมาย Foreign Investment Act 1991 เพื่อชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ตามกฎหมายฉบับดังกล่าวนักลงทุนต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของกิจการโดยไม่ต้องมีคนท้องถิ่นร่วมทุนในหลากหลายประเภทธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น การก่อสร้าง รถไฟฟ้า ท่าอากาศยาน และพลังงาน เป็นต้น อนึ่งรัฐบาลของฟิลิปปินส์ยังได้กำหนดนโยบายเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนโดยการอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนการดำเนินธุรกิจของคนต่างด้าวให้มีความสะดวกรวดเร็วขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นอกจากนั้นฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นการอุปโภคบริโภคสินค้าต่างๆภายในประเทศจึงค่อนข้างสูง หากต่างชาติต้องการเข้าไปลงทุนทำธุรกิจในฟิลิปปินส์จึงมีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เนื่องจากมีตลาดขนาดใหญ่ ในขณะที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียนมีนโยบายที่ให้ความเท่าเทียมกันระหว่างนักลงทุนในประเทศกับนักลงทุนต่างประเทศ กฎหมายการลงทุนของสิงคโปร์จึงเอื้อประโยชน์ต่อผู้ลงทุนเป็นอย่างมาก ไม่มีการกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำและให้สิทธิ์ในการที่ชาวต่างชาติจะซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้รวมถึงไม่มีการควบคุมการโอนเงินตราต่างประเทศ และผลกำไรในการประกอบธุรกิจออกนอกประเทศ และรัฐบาลสิงคโปร์ให้ต่างชาติทำธุรกิจได้ 100 % ในหลายๆประเภท ยกเว้นธุรกิจด้านกฎหมาย การประกอบอาชีพทนายความ กิจการที่เกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจ นอกจากนั้นประเทศสิงคโปร์ยังพยายามผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในด้านต่างๆ อาทิ การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ ด้านอวกาศ ด้านแฟชั่น การบัญชี การบินและการขนส่ง เป็นต้น ซึ่งคาดการณ์ว่านโยบายดังกล่าวจะจูงใจนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนทำกิจการประเภทต่างๆในในสิงคโปร์ได้มากขึ้น จะเห็นได้ว่า 9 ประเทศสมาชิกเพื่อนบ้าน AEC นั้นต่างพยายามเตรียมความพร้อมกันอย่างสุดความสามารถเพื่อให้ชาติของตนมีความได้เปรียบและพร้อมที่จะแข่งขันเมื่อ AEC เปิด ทั้งนี้ประเทศไทยของเราก็จะต้องเร่งเตรียมความพร้อมไม่ให้น้อยหน้าอีก 9 ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังเหลือเวลาอีกสองปีก่อนที่ AEC จะเริ่มต้น แนวนโยบายส่งเสริมการลงทุนของแต่ละประเทศอาจยังมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอีก จึงต้องติดตามรับฟังนโยบายส่งเสริมการลงทุนของแต่ละประเทศสมาชิก AEC กันต่อไป  ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ดาวโหลดเอกสาร...