AEC Advisor in Asian Economic Community of ASEAN Countries

History of AEC

History of AEC

Posted by on May 30, 2013

At Ninth Summit in October 2003, the Association of South East Asian Nations (ASEAN) has established regional cooperation on the three pillars of security and socio cultural and economic integration. It has made most progress in economic integration and aims to create an ASEAN Economic Community (AEC) as one of the three pillars by...

Read More

AEC BLUEPRINT

AEC BLUEPRINT

Posted by on May 30, 2013

AEC Blueprint provides a strategic plan both short and medium terms toward 2015 for ASEAN member states, including strategic schedule with key milestones for a comprehensive and deeper economic integration by...

Read More

About Us

Posted by on Sep 2, 2013

AEC Advisor team consists of business advisors, financial advisors, legal advisors, lawyers and accountants. AEC Advisor has offices, correspondence office and connection of professional colleagues trading companies and successful businessmen throughout AEC member Countries. AEC Advisor has strong team of experienced professionals in the above fields who can provide exceptional services in all related fields including but not limit to, assisting in investing in each AEC country members which are Thailand, Brunei, Myanmar, Lao, Vietnam, Indonesia, Malaysia, Singapore, Philippines and Cambodia, assisting in company set up and complying with laws and regulations of each AEC country members, applying for related business licenses for AEC investors. As channels to support our clients, AEC Advisor also has good connection with several reputable business sectors and officials in the ten AEC member countries. Furthermore, our team has first-hand experience and reputable for writing AEC business articles that have been published in well-known newspapers and magazine every week. Therefore, we are fully confident to give solid business, management, legal and accounting assistance and advice for our clients who want to invest in various business sectors...

Read More

Our Services

Posted by on Sep 2, 2013

AEC Advisor provides services and assistance investing in ASEAN Countries which are Thailand, Brunei, Myanmar, Lao,Vietnam, Indonesia, Malaysia, Singapore, Philippines and Cambodia. Services of AEC Advisor include giving advice on business matching, joint venture, purchase and sale of shares, purchase and sale of assets, merger and acquisition, choices of investment.  AEC Advisor also assists in company set up and complying with laws and regulations of each AEC country members.  AEC Advisor applies for related business licenses for AEC investors.  AEC Advisor helps negotiating agreements and drafting contracts for our...

Read More

Recent Posts

กลยุทธ์การลงทุน (1)

กลยุทธ์การลงทุน (1)

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกำลังจะเกิดขึ้นในอีกสองปีข้างหน้า คาดการณ์ว่าจะก่อให้เกิดตลาดลงทุนแห่งใหม่ของโลก ด้วยความสดใหม่ของทรัพยากรในอาเซียน ความมีเสรีภาพในการลงทุน ตลาดแรงงานที่ราคาไม่สูงนัก น่าจะเป็นปัจจัยหลักที่จะจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาแสวงหาโอกาสในภูมิภาคอาเซียนกันมากขึ้น ทั้งนี้ในระหว่างรอเปิด AEC นั้นประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศต่างพยายามวางกลยุทธ์ต่างๆ ให้ตนมีความพร้อมแข่งขันและจูงใจนักลงทุนมากที่สุด ในคอลัมน์นี้จะขอนำเสนอถึงแผนนโยบายสนับสนุนการลงทุนเบื้องต้นของสมาชิกเพื่อนบ้าน AEC ทั้ง 9 ประเทศให้นักลงทุนไทยได้รับทราบเพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขัน รวมถึงมองหาโอกาสเข้าไปลงทุนใน 9 ประเทศเมื่อ AEC เปิดแล้ว เริ่มต้นที่รัฐบาลบรูไนที่ได้ให้การสนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนมากขึ้น โดยอนุญาตให้มีการลงทุนจากต่างประเทศเกือบทุกสาขาธุรกิจและอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% ทุกสาขา ยกเว้นแต่เพียงอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศและที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารของประเทศเท่านั้นที่ยังคงต้องมีผู้ถือหุ้นในประเทศอย่างน้อย 30% ร่วมด้วย นอกจากนี้รัฐบาลบรูไนยังให้ความสำคัญมากกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเฉพาะการลงทุนเกี่ยวกับการผลิตปิโตรเคมีขั้นสุดท้ายและอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้พลังงานของบรูไน รัฐบาลกัมพูชาได้ออกกฎหมายส่งเสริมการลงทุนที่จะให้สิทธิประโยชน์และความมั่นใจแก่ นักลงทุนที่จะถือครองสิทธิในทรัพย์สินต่างๆ (ยกเว้นกรรมสิทธิ์ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้ถือครองได้ต้องเป็นบุคคลสัญชาติกัมพูชาเท่านั้น ต่างด้าวสามารถใช้สิทธิได้ด้วยการเช่าหรือสัมปทาน) และรัฐบาลให้หลักประกันแก่นักลงทุนต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนว่า จะได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกับคนในชาติและจะไม่ถูกบังคับจากนโยบายกำหนดราคาสินค้าและบริการหากมีการใช้บังคับในภายหลัง รวมทั้งสามารถซื้อและโอนเงินตราต่างประเทศไม่ว่าจะเพื่อชำระสินค้าหรือจ่ายกำไรตามระบบธนาคาร นอกจากนี้รัฐบาลกัมพูชายังมีนโยบายการค้าเสรี ไม่มีข้อกีดกันทางการค้า มีเพียงข้อห้ามการนำเข้าสินค้าบางประเภทที่กระทบกับความมั่นคง สุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น อินโดนีเซีย เมื่อต้นปี พ.ศ. 2555 รัฐบาลได้ออกมาตรการใหม่เพื่อกระตุ้นการลงทุนในประเทศ โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่นักลงทุนใน 129 สาขาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำให้มีการใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นวัตถุดิบและลดการนำเข้าสินค้าบริโภคขั้นสุดท้าย เช่น การเพาะปลูกพืช การทำเหมืองแร่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อิเล็กทรอนิกส์ ยาและอาหาร มาเลเซีย ภายใต้แผนพัฒนามาเลเซีย ปีพ.ศ. 2551-2563 รัฐบาลมาเลเซียอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ 100% ในสาขาบริการย่อย 27 สาขา ครอบคลุมบริการด้านการท่องเที่ยว สุขภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศและการขนส่ง รวมถึงการลงทุนในศูนย์กระจายสินค้าระดับภูมิภาค ศูนย์จัดซื้อสินค้าระหว่างประเทศและการทำธุรกิจเหมืองแร่ ขณะเดียวกันยังมีการคลายข้อกำหนดการถือหุ้นของต่างชาติและเงื่อนไขด้านการส่งออกและการลงทุนด้านการผลิตอีกด้วย นอกจากนี้รัฐบาลมาเลเซียยังมีการผ่อนปรนมาตรการทางภาษีให้แก่นักลงทุนจากต่างชาติ โดยจะมีการลดหย่อนภาษีนิติบุคคลจาก 28% เป็น 27% และจะลดลงเหลือ 26% ในอนาคตอันใกล้ กับทั้งรัฐบาลมาเลเซียยังมีนโยบายที่เตรียมจะยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่นักลงทุนต่างชาติอีกในอัตราถึง 70-100% เป็นเวลา 5 ปีอีกด้วย สำหรับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวนั้น รัฐบาลกำลังต้องการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศอยู่แล้ว โดยตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนของลาว พ.ศ. 2552 นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนในธุรกิจประเภทต่างๆ ได้มากมาย ยกเว้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงหรือส่งผลกระทบด้านลบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพหรือขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ซึ่งล่าสุดรัฐบาลลาวได้อนุมัติให้มีการดำเนินโครงการ “Vientiane New World” ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างเขตเมืองใหม่ที่เกาะดอนจัน (Don Chan Island) ริมแม่น้ำโขง ในนครหลวงเวียงจันทน์ โดยรวมเอาสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความทันสมัยต่างๆ และเอื้อต่อการทำธุรกิจรวมไว้ด้วยกัน คาดการณ์ว่าโครงการนี้จะมีส่วนจูงใจนักลงทุนมากขึ้น กับทั้งจะแก้ไขปัญหาสิ่งอำนวยความสะดวกและที่อยู่อาศัยที่ขาดแคลนในประเทศ นอกจากนั้นโครงการนี้จะก่อให้เกิดธุรกิจประเภทต่างๆ เช่น ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกด้วย จะเห็นได้ว่านโยบายสนับสนุนการลงทุนของทั้ง 5 ประเทศล้วนมีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป เหล่านักลงทุนไทยจึงควรศึกษาให้ดีและเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมต่อการเข้าไปลงทุนในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม AEC ยังไม่ได้เปิดอย่างเป็นทางการ ดังนั้นนโยบายในการส่งเสริมการลงทุนของทั้ง 5 ประเทศจึงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอีกเพื่อให้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติได้มากขึ้น สำหรับในครั้งหน้าคอลัมน์ของเราจะนำเสนอแนวนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของอีก 4 ประเทศที่เหลือให้ผู้อ่านได้รับทราบกัน ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com...

โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในพม่า

โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในพม่า

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com การที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC กำลังจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ ทุกประเทศสมาชิกต่างเร่งเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศของตนสามารถแข่งขันกับประเทศสมาชิกอื่นได้มากที่สุด แต่ละประเทศพยายามหาจุดเด่นเพื่อจูงใจนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศตน ซึ่งในครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงการเตรียมความพร้อมด้านพลังงานของประเทศไทยไปแล้ว ในคอลัมน์นี้จะขอพูดถึงการเตรียมความพร้อมด้านพลังงานในประเทศพม่ากันบ้าง ตั้งแต่เปิดประเทศ พม่ากลายเป็นพื้นที่เป้าหมายของนักลงทุนต่างชาติรวมถึงนักลงทุนไทย โดยเฉพาะการลงทุนด้านพลังงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ พม่าถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางแหล่งพลังงานมาก ดังจะเห็นได้จากการที่พม่ามีก๊าซธรรมชาติสำรองจำนวนมาก สามารถจำหน่ายให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทย เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 7.5 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้แหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของพม่ายังมีความสดใหม่อยู่มากและยังไม่ถูกค้นพบกับขุดเจาะอย่างจริงจัง ทำให้นักลงทุนต่างชาติอยากเข้ามาครอบครองแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่พม่ามีอยู่นี้ อย่างไรก็ตามศักยภาพการผลิตไฟฟ้าของพม่านั้นยังค่อนข้างจำกัด พม่าสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียง 3,361 เมกะวัตต์ต่อปี แหล่งพลังงานไฟฟ้าในพม่าร้อยละ 70 มาจากพลังน้ำ ร้อยละ 30 มาจากพลังลม ส่วนที่เหลือมาจากถ่านหิน ทั้งนี้ได้มีรายงานจาก The New Energy Architecture ซึ่งเป็นรายงานวิเคราะห์ประเด็นความท้าทายในภาคพลังงานของพม่าระบุว่า ประชากรเกือบสามในสี่ของประเทศหรือประมาณ 60 ล้านคนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ประชากรในพื้นที่ชนบทที่มีอยู่ถึงร้อยละ 70 นั้นมีเพียงร้อยละ 16 เท่านั้น ที่เข้าถึงไฟฟ้าได้ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข งานและการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้นก่อนการเริ่มต้นของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พม่าจึงต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพของระบบการผลิตไฟฟ้าเป็นการเร่งด่วนเพื่อรองรับการลงทุนที่จะเกิดขึ้น จากรายงานข่าวล่าสุด รัฐบาลพม่าประกาศแผนว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แห่งแรกของประเทศซึ่งจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โดยโรงไฟฟ้าดังกล่าวมีมูลค่า 8,200 ล้านบาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 210 เมกะวัตต์ ด้วยเงินลงทุน 275 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8,250 ล้านบาท บนเนื้อที่ 2,000 ไร่ ที่จังหวัดมินบู (Minbu) เขตเมเกว (Magway) นครหลวงเนย์ปิดอว์ (Naypyidaw) โดยมีบริษัท กรีน เอิร์ธ พาวเวอร์ จำกัด จากไทย เป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวจะใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 18 เดือน แบ่งเป็น 3 เฟส เฟสแรกกำลังผลิต 50 เมกะวัตต์ เฟสที่สองกำลังผลิต 70 เมกะวัตต์ ส่วนเฟสที่สามจะทำหน้าที่เข้ามาเสริมกำลังผลิตไฟฟ้ารวมของพม่าให้มั่นคงมากขึ้น ซึ่งพม่าวางเป้าหมายว่าภายในปี พ.ศ. 2573 จะต้องมีกำลังผลิตรวม 30,000 เมกะวัตต์ และมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนร้อยละ 10 ด้วย ทั้งนี้ปัจจัยผกผันที่อาจจะทำให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าไม่ราบรื่นนั้นอาจจะเกิดจากรัฐบาลพม่า เพราะแม้จะเปิดประเทศแล้ว แต่รัฐบาลทหารยังคงยึดครองอำนาจอยู่ ซึ่งวิธีการบริหารงานยังมีลักษณะเผด็จการ ดังนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งกะทันหันเป็นเหตุให้โครงการนี้ไม่สำเร็จแบบโรงไฟฟ้าที่ทวายหรือโครงการอื่น ๆ ที่รัฐบาลระงับคำสั่งก็เป็นไปได้ หากรัฐบาลพม่ามองว่าเป็นปัญหา จากนี้เราคงต้องตามข่าวโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพม่ากันอย่างใกล้ชิดว่าจะทำสำเร็จลุล่วงทันการเปิด AEC หรือไม่ ซึ่งหากทำสำเร็จด้วยเทคโนโลยีที่สะอาดและมีประสิทธิภาพสูงก็จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจของประเทศพม่าให้ขึ้นมาอยู่แถวหน้าของภูมิภาคอาเซียนได้อย่างแน่นอน และนักลงทุนจำนวนมากย่อมจะให้ความสนใจเข้าไปลงทุนในธุรกิจพลังงานของประเทศพม่ามากยิ่งขึ้น ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com...

ปรับปรุงท่าอากาศยานรับ AEC

ปรับปรุงท่าอากาศยานรับ AEC

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและการที่ประชากรในเอเชียมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นส่งผลให้มีการคมนาคมทางอากาศมากขึ้นและอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้บริษัทแอร์บัส (Airbus S.A.S) บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลกคาดการณ์ไว้ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าปริมาณเครื่องบินพาณิชย์ในเอเชียจะเพิ่มขึ้นเป็น 10,400 ลำ จากปัจจุบันในเอเชียมีเครื่องบินพาณิชย์ประมาณ 4,300 ลำ สำหรับในภูมิภาคอาเซียนนั้นอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศก็เติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน สังเกตได้จากการเกิดของสายการบินราคาประหยัด (Low – Cost Airlines) ที่เกิดขึ้นหลายรายในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมานี้ ไม่ว่าจะเป็น Nok Air, Air Asia, Jetstar, Tiger Airways เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการเสนอนโยบายการเปิดเสรีทางการบินภายในภูมิภาคอาเซียนเมื่อปี พ.ศ. 2552 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ยิ่งมีส่วนกระตุ้นให้อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศเติบโตมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเปิดเสรีทางการบินนี้ช่วยลดข้อจำกัดในการเพิ่มเที่ยวบินระหว่างประเทศ รวมไปถึงการลดข้อจำกัดด้านความจุและความถี่ของเที่ยวบินระหว่างประเทศอีกด้วย จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศในอาเซียนดังกล่าวทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศต้องทำการปรับปรุงและขยายท่าอากาศยาน รวมทั้งเตรียมพร้อมในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงรันเวย์และการสร้างท่าอากาศยานเพิ่มเพื่อรองรับนักเดินทางและการขนส่งทางอากาศอื่นๆ เช่นในประเทศสิงคโปร์มีโครงการปรับปรุงท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี (Changi Airport) โดยมีแผนการสร้างอาคาร Terminal 4 เพิ่ม รวมไปถึงการขยายอาคาร Terminal 1 ของสนามบิน เพื่อรองรับผู้โดยสาร ซึ่งปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมามีผู้โดยสารใช้บริการท่าอากาศยานชางงีกว่า 51.2 ล้านราย เป็นต้น ในส่วนของประเทศไทยนั้นมีโครงการปรับปรุงท่าอากาศยานอยู่หลายแห่งไม่ว่าจะเป็นท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ปัจจุบันกำลังประสบปัญหาความแออัด สนามบินไม่พอรองรับผู้โดยสาร ทั้งนี้ บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) หรือ ทอท. ได้เปิดเผยแล้วว่ามีแผนการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ซึ่งหากดำเนินการขยายเสร็จจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 60 ล้านคน โครงการขยายท่าอากาศยานฯ ระยะที่ 2 คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ ทอท. ยังมีแผนที่จะขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในระยะที่ 3 ต่อไป เนื่องจากคาดว่าในปี พ.ศ. 2560 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะมีผู้โดยสารใช้บริการกว่า 60 ล้านคน ซึ่งจะเท่ากับจำนวนผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานจะรองรับได้หลังจากการขยายระยะที่ 2 จึงต้องเร่งสร้างโครงการระยะที่ 3 ให้เร็วขึ้น เพื่อมิให้ประสบปัญหาความแออัดตั้งแต่เริ่มเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ด้านท่าอากาศยานเชียงใหม่ที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจนทะลุ 5.1 ล้านคน ก็เตรียมที่จะปรับปรุงท่าอากาศยานเช่นกัน โดยท่าอากาศยานเชียงใหม่จะเน้นไปที่การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคารผู้โดยสาร ไม่ว่าจะเป็นบริการ Wi-Fi มุมสำหรับเด็กและมุมอ่านหนังสือเพื่อให้ผู้ใช้บริการท่าอากาศยานได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการจัดพื้นที่แสดงสินค้า OTOP และจัดการแสดงพื้นเมืองภายในท่าอากาศยานเพื่อเผยแพร่และส่งเสริมวัฒนธรรมไทยให้แก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย นอกจากนี้ท่าอากาศยานเชียงใหม่ยังมีนโยบายการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยพร้อมจะสร้างท่าอากาศยานเชียงใหม่ให้เป็น Green Airport อีกด้วย ส่วนจังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศกัมพูชาและมีนโยบายที่จะพัฒนาจังหวัดให้เป็นประตูอีสานสู่สากล เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชาและสามารถเดินทางต่อไปถึงประเทศเวียดนามได้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์จึงมีแผนที่จะปรับปรุงสนามบินสุรินทร์ภักดี สนามบินเก่าของจังหวัดที่ปัจจุบันไม่ได้เปิดใช้เชิงพาณิชย์ ให้กลายเป็นสนามบินเชิงพาณิชย์ เพื่อเปิดเส้นทางคมนาคมทางอากาศ รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การลงทุน จังหวัดสุรินทร์ถือเป็นประตูสู่อาเซียนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการบินของภาคอีสานตอนใต้ รองรับผู้โดยสารและการขนส่งทางอากาศในแถบอีสาน กัมพูชา และเวียดนาม อันเป็นการเพิ่มทางเลือกในการคมนาคมและขนส่งระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้อีกด้วย การปรับปรุงท่าอากาศยานต่างๆ ของไทยนี้จะช่วยให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ดียิ่งขึ้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะปรับปรุงท่าอากาศยานต่างๆ ให้ทันสมัย สะดวกสบาย พร้อมรับผู้โดยสารที่จะเข้ามาใช้บริการมากขึ้นเมื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2558 นั่นเอง ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com...

กองทุน AIF

กองทุน AIF

  ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com แม้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจยังถือได้ว่าล้าหลังหากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะเมื่อวัดด้วยอัตราส่วนของจำนวนทางหลวง ทางรถไฟและการเข้าถึงไฟฟ้าต่อประชากรแต่ละคน ดังนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนหรือ ASEAN Finance Ministers จึงมีแนวคิดร่วมกันให้มีการจัดตั้ง “กองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียน” (ASEAN Infrastructure Fund) หรือเรียกโดยย่อว่า “กองทุน AIF” ขึ้น การจัดตั้งกองทุน AIF เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือทางการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะร่วมมือกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคโดยมีวัตถุประสงค์ในการเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งภายในและระหว่างพรมแดนของประเทศสมาชิกอาเซียนกับทั้งส่งเสริมการนำเงินออมภายในภูมิภาคอาเซียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กองทุน AIF มีสถานะทางกฎหมายเป็นบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศมาเลเซียซึ่งก็เป็นชาติที่ลงเงินทุนเบื้องต้นสูงที่สุดคือ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กองทุน AIF มีอำนาจในการทำสัญญาและดำเนินการต่างๆ ในนามของตนเอง มีทุนเริ่มต้นทั้งหมด 485.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นเงินร่วมลงทุนที่มาจากประเทศสมาชิกอาเซียนจำนวน 335.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยกเว้นประเทศพม่าซึ่งยังไม่ได้เข้าร่วมในกองทุนนี้ และมาจากธนาคารพัฒนาเอเชียหรือ Asian Development Bank: ADB จำนวน 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ADB นอกจากจะเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในกองทุนนี้แล้วยังทำหน้าที่เป็นผู้บริหารกองทุนและเป็นผู้ให้ความมั่นใจว่าการลงทุนทั้งหลายของกองทุน AIF นี้จะดำเนินไปอย่างสมเหตุสมผลในทางการเงินด้วย สำหรับประเทศไทยมีสัดส่วนการลงเงินทุนจัดตั้ง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 450 ล้านบาทและมีสิทธิในการออกเสียงร้อยละ 3.09 การชำระเงินเข้ากองทุน AIF จะแบ่งออกเป็น 3 งวดเท่าๆ กันซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องชำระเงินงวดแรกภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 งวดที่เหลือจะต้องชำระเมื่อครบรอบของแต่ละปีของการชำระเงินงวดแรก เป้าหมายของกองทุนคือการให้การสนับสนุนเงินกู้กับโครงการต่างๆ ประมาณ 6 โครงการต่อปี ในแต่ละโครงการมีเพดานการกู้ยืม (Project Limit) ไม่เกิน 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โครงการที่จะได้รับเงินทุนจากกองทุน AIF นอกจากจะต้องเป็นโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแล้วยังต้องเป็นโครงการที่สามารถลดความยากไร้ ส่งเสริมการค้า และกระตุ้นการลงทุนได้ และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับกองทุน ในช่วง 3 ปีแรกของการดำเนินการ กองทุน AIF จะให้เงินกู้เฉพาะโครงการที่เป็นของภาครัฐหรือโครงการที่รัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันเท่านั้น เมื่อกองทุนได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือได้ตามเป้าหมายที่ระดับ AA แล้ว กองทุนจึงจะพิจารณาโครงการของภาคเอกชน (Private Sector Development) ต่อไป โดยภายในปี ค.ศ. 2020 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนตั้งความหวังว่าโครงการนี้จะสามารถปล่อยเงินกู้ได้เพิ่มขึ้นในระดับ 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีมูลค่าทางการเงินด้านต่างๆ รวมทั้งหมดสูงกว่า 13,000 ล้านดอลลาร์ กองทุน AIF ถือเป็นก้าวสำคัญที่ประเทศสมาชิกได้ร่วมลงทุนจัดตั้งเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน ซึ่งจะมีส่วนช่วยพัฒนาความเชื่อมโยงทั้งในด้านการซื้อขาย การขนส่งสินค้า การค้าบริการและการลงทุนภายในภูมิภาค กับทั้งกองทุน AIF...

การลงทุนในเวียดนาม

การลงทุนในเวียดนาม

 ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ประเทศเวียดนามเป็นอีกประเทศหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติมาก เศรษฐกิจของเวียดนามในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาที่ดีขึ้นและยังปรับตัวในทิศทางที่สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจโลก รัฐบาลเวียดนามยังมีนโยบายสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ โดยการให้ สิทธิประโยชน์ หลายประการแก่นักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ การที่เวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) เมื่อปี 2550 ทำให้รัฐบาลเวียดนามต้องเร่งเปิดเสรีการลงทุนให้เป็นไปตามเกณฑ์ของ WTO ยิ่งส่งผลให้เวียดนามน่าสนใจในสายตานักลงทุนต่างชาติ รวมถึงนักลงทุนไทยมากขึ้น แม้ว่าประเทศเวียดนามจะมีระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม แต่ก็เปิดกว้างด้านนโยบายการลงทุน ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศใช้ กฎหมายการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Law on Foreign Direct Investment) ตั้งแต่ปี 2530 เพื่อเป็นการรับประกันว่าจะมีการปฏิบัติและให้ความเป็นธรรมกับนักลงทุนต่างชาติ อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นว่า เวียดนามมีนโยบายที่สนับสนุนการลงทุนโดยนักลงทุนจากต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงด้านการลงทุนของต่างชาติในเวียดนาม คือ กระทรวงวางแผนและการลงทุน หรือ Ministry of Planning and Investment (MPI) ซึ่งมีหน้าที่บริหารจัดการวางแผนนโยบายและสิทธิประโยชน์ในการลงทุนให้กับชาวเวียดนามและชาวต่างชาติ นอกจากนี้แล้ว กระทรวงดังกล่าวยังมีหน้าที่กำกับดูแลให้ความช่วยเหลือในด้านข้อมูลและส่งเสริมการลงทุนในเวียดนาม รวมไปถึงการพิจารณาและอนุมัติการลงทุนในโครงการต่าง ๆ การเปิดกว้างด้านนโยบายการลงทุน เป็นการกระตุ้นให้มีการลงทุนและเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ส่งผลให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2553 อัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามอยู่ที่ร้อยละ 6.78 และในปี 2554 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็เพิ่มขึ้นจากปี 2553 อีกร้อยละ 5.89 จึงเห็นได้ว่าเวียดนามมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ หากเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ด้วยกัน การลงทุนในเวียดนามนั้นมีข้อดีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ทางการเมืองของเวียดนามที่มีเสถียรภาพสูง ไม่ค่อยมีปัญหานัก ทำให้บรรยากาศการลงทุนไม่น่าโดนปัจจัยความมั่นคงทางการเมืองรบกวน ทั้งยังมีนโยบายที่ส่งเสริมการลงทุนที่โดดเด่นในการให้สิทธิประโยชน์แก่ นักลงทุนมาก เช่น การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ในกรณีที่เป็นการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายในเวลาไม่เกิน 270 วัน นับแต่วันที่นำเข้าวัตถุดิบ การให้สิทธิ์ในการส่งผลกำไรกลับประเทศได้อย่างเสรี โดยไม่ต้องเสียภาษีจากผลกำไรที่โอนกลับประเทศนั้น การคิดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างชาติ สำหรับธุรกิจทั่วไปในอัตราเดียวกันกับนิติบุคคลเวียดนาม ที่อัตราร้อยละ 25 และสิทธิประโยชน์พิเศษอื่น ๆ หากมีการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น นอกจากนี้ เวียดนามยังเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติสูง มีทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ สำหรับโครงสร้างประชากรเวียดนามในปัจจุบันนั้น พบว่าร้อยละ 50 ของชาวเวียดนามเป็นประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี อัตราการรู้หนังสือ (Literacy Rate) ก็อยู่ในระดับสูงคือร้อยละ 94 สำหรับค่าแรงของแรงงานเวียดนามก็ถูกกว่าอินโดนีเซีย จีน และไทยค่อนข้างมาก โดยถูกกว่าค่าแรงในอินโดนีเซียกับจีนประมาณร้อยละ 30-40 และถูกกว่าไทยร้อยละ 60 แม้ค่าแรงของชาวเวียดนามในปีนี้มีแนวโน้มว่าจะปรับขึ้นราวร้อยละ 25-30 เพื่อจูงใจให้ชาวเวียดนามมาเป็นแรงงานกันมากขึ้น จากเดิมค่าแรงที่ต่ำจนไม่ได้รับความสนใจจากประชาชน และเกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน การปรับขึ้นแรงงานขั้นต่ำดังกล่าว ก็ยังถือว่าเป็นค่าแรงที่ถูกกว่าของไทย แรงงานเวียดนามยังได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนต่างชาติ ว่ามีฝีมือดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา และพม่า ด้านผู้บริโภคชาวเวียดนามก็มีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกับผู้บริโภคชาวไทย อีกทั้งจากการที่เวียดนามมีประชากรมากถึง 90 ล้านคน ทำให้ตลาดเวียดนามถือเป็นตลาดที่ใหญ่และมีโอกาสในการลงทุนสูง ด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศนั้น แม้ว่าถนนหนทางจะยังไม่พร้อมเท่าของไทย แต่ขณะนี้เวียดนามกำลังเตรียมปรับปรุงและก่อสร้างสนามบินจำนวน 26 แห่งทั่วประเทศ ทั้งยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งได้ลงนามความตกลงกับญี่ปุ่นให้เข้ามาช่วยเหลือและถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟฟ้าชินคันเซ็นให้ โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างใน ค.ศ. 2015 อย่างไรก็ดี ประเทศเวียดนามยังต้องมีการปรับปรุงเรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ที่ยังไม่ทันสมัยเพียงพอ ตลอดจนกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์อยู่บ่อยครั้ง รวมทั้งสาธารณูปโภคที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางบกที่มีต้นทุนสูง ปัญหาเรื่องไฟฟ้าที่ในบางพื้นที่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เกิดเหตุไฟฟ้าดับบ่อยครั้ง นอกจากนี้ เวียดนามยังเป็นประเทศหนึ่งที่มักประสบกับปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะพายุและอุทกภัยบ่อย ๆ นักลงทุนจึงต้องพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียในประเด็นต่าง ๆ ให้รอบคอบและถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจลงทุน ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ดาวโหลดเอกสาร            ...

โอกาสในลาว

โอกาสในลาว

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว เป็นประเทศล่าสุดใน ASEAN ที่เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกหรือ WTO (World Trade Organization) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การก้าวเข้าเป็นสมาชิก WTO ทำให้ สปป.ลาว มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นและช่วยยกระดับภูมิภาคอาเซียนให้มีความเป็นสากลมากขึ้นตามไปด้วย การก้าวเข้าเป็นสมาชิก WTO ดังกล่าวส่งผลให้ สปป.ลาว ปรับเปลี่ยนนโยบายและโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบการค้าและการลงทุนให้สอดคล้องกับกรอบปฏิบัติทางการค้าของ WTO อันจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักธุรกิจต่างชาติที่สนใจทำธุรกิจทั้งการค้าและการลงทุนกับ สปป.ลาว มากขึ้น โดยข้อผูกพันการเปิดตลาดที่สำคัญของ สปป.ลาว อาทิ การปรับโครงสร้างภาษีสินค้านำเข้า (Bound Rate) โดยผูกพันอัตราภาษีนำเข้าทุกประเภทเฉลี่ยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 18.8 และไม่เกินร้อยละ 19.3 สำหรับสินค้าในกลุ่มเกษตร รวมไปถึงการเปิดตลาดบริการจำนวน 10 สาขาหลัก 79 สาขาย่อย เช่น บริการทางธุรกิจ บริการโทรคมนาคม การก่อสร้าง บริการโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น จึงช่วยขยายโอกาสทางการค้าและดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนใน สปป.ลาว มากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ว่าการเป็นสมาชิก WTO เต็มตัวของ สปป.ลาว ในครั้งนี้แม้อาจจะยังไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วนัก แต่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างกฎระเบียบที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจมากขึ้น และสถาบันการเงินอย่าง IMF คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจ สปป.ลาว น่าจะเติบโตที่อัตราสูงอย่างต่อเนื่องมากกว่าร้อยละ 7 ต่อปีในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2557 ซึ่งน่าจะส่งผลดีกับธุรกิจไทยเนื่องจากตามสถิติที่ผ่านมาประเทศไทยกับ สปป. ลาวเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับต้นๆ มาโดยตลอด จะเห็นได้จากสถิติมูลค่าการลงทุนใน สปป.ลาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 – 2553 พบว่าประเทศไทยเข้าไปลงทุนเป็นอับดันที่ 2 รองจากประเทศจีน และยังพบว่าในครึ่งปีแรกของปี 2555 การค้าระหว่างไทยและ สปป.ลาว ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 47 สำหรับความร่วมมือทางการค้าระหว่างไทยและ สปป.ลาว ที่สำคัญ ได้แก่ คณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย – ลาว หรือ Joint Trade Committee ซึ่งต่อมากลไกนี้ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการประชุมแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าไทย – ลาว โดยประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งลาว และให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าในกรอบอาเซียน ทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา สปป.ลาว สามารถส่งสินค้าไปประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งไทยได้โดยไม่ต้องเสียภาษีกว่า 300 รายการ และล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมระหว่างไทย สปป.ลาว และจีนในการอนุญาตให้มีการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างกันในเส้นทางไทย ลาว และจีน ซึ่งถือเป็นการเชื่อมโยงเส้นทางโลจิสติกส์ให้สะดวกยิ่งขึ้น รวมระยะทาง 1,800 กิโลเมตร ซึ่งในปีแรกที่เปิดใช้เส้นทางนี้จะมีการยกเว้นภาษีให้รถที่เข้า-ออกประเทศละ 100 คันในการขนส่งสินค้าระหว่างกันตามชายแดน บางคนอาจจะยังคงติดภาพของ สปป.ลาว ที่มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังไม่เพียงพอ นโยบายของรัฐบาลกลางกับนโยบายของแต่ละแขวงอาจยังไม่สอดคล้องกันในทางปฏิบัติ เส้นทางคมนาคมขนส่งภายในประเทศยังไม่ดี ปัญหาดังกล่าวนี้น่าจะหมดไปในไม่ช้าเมื่อรัฐบาล สปป.ลาว ได้อนุมัติโครงการ “Vientiane New World” ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างเขตเมืองใหม่ที่เกาะดอนจัน ริมแม่น้ำโขงในนครหลวงเวียงจันทน์ โครงการ Vientiane New World นี้เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท CAMC Engineering Co., Ltd. ของจีนกับบริษัท Krittaphong Group Co., Ltd. ของ สปป.ลาว ด้วยมูลค่าการลงทุน 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะรวมเอาสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความทันสมัยและเอื้อต่อการทำธุรกิจรวมทั้งที่อยู่อาศัยระดับสูงไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีศูนย์พักนานาชาติ (International Residence Center) ซึ่งจะเป็นย่านพักอาศัยที่ดีที่สุดของชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ คาดว่าจะส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งของนครหลวงเวียงจันทน์ในอีก 6 – 8 ปีข้างหน้านี้ โอกาสของนักลงทุนไทยในการเข้าไปทำธุรกิจใน สปป.ลาว นั้นยังมีอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูป อาหารจากผลผลิตทางการเกษตร การรับเหมาก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งจากโครงการ Vientiane New World น่าจะเป็นอีกโอกาสหนึ่งของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของไทยในการเข้าไปลงทุนก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจร้านอาหารที่หากไปดำเนินการใน สปป.ลาว ก็สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศไทยไปได้อย่างสะดวกเนื่องจากมีพรมแดนติดกันทำให้การขนส่งใช้เวลาไม่นาน นับจากนี้ สปป.ลาว น่าจะเป็นอีกประเทศหนึ่งที่นักลงทุนทั้งในอาเซียนและนอกอาเซียนให้ความสนใจเข้าไปศึกษาและลงทุนมากขึ้น ใครจะรู้ว่าการลงทุนใน สปป.ลาว อาจนำมาซึ่งผลกำไรที่ไม่น้อยไปกว่าการลงทุนในสิงคโปร์ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่น่าลงทุนที่สุดก็เป็นได้ ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ดาวโหลดเอกสาร...

พม่าผงาด

พม่าผงาด

  ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าในวันนี้เปลี่ยนแปลงไปภายหลังการจัดให้มีการเลือกตั้งเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา หลังจากประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการที่ออกมาว่าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ซึ่งมีนางอองซาน ซูจี เป็นประธานพรรคได้รับชัยชนะหลังจากการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปต่างมีท่าทีที่จะยกเลิกการคว่ำบาตรกับพม่า โดยสหรัฐฯ ได้ส่งทูตเข้าไปประจำในประเทศพม่าและยังอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับคัดเลือกจากฝ่ายนิติบัญญัติของพม่าเข้าในประเทศสหรัฐฯ ได้ อีกทั้งจะมีการจัดตั้งสำนักงานตัวแทนสหรัฐเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศและจะให้การสนับสนุนการดำเนินงานของสหประชาชาติในโครงการพัฒนาประเทศพม่าอีกด้วย ภายหลังการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวนั้นสหภาพยุโรปยังไม่มีความชัดเจนออกมามากนักเพียงแต่เปิดเผยในเวลานั้นว่าประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาการผ่อนปรนการคว่ำบาตรกับพม่าอยู่เช่นกัน แต่ล่าสุดสหภาพยุโรปได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรที่ไม่ใช่มาตรการทางทหาร (Non-military) ในพม่าอย่างเป็นทางการแล้วเพื่อแสดงการยอมรับในความก้าวหน้าด้านประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในประเทศพม่าเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยสหภาพยุโรปได้ยุติการคว่ำบาตรทั้งหมดทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ เหลือไว้แต่เพียงการค้าอาวุธและยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ยังคงอยู่ โดยประธานฝ่ายนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรปได้เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศว่าแม้ในขณะนี้พม่ายังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องทำให้สำเร็จทั้งในเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย การต่อสู้กับความยากจนและการบรรลุสันติภาพอย่างถาวร แต่ก็ถึงเวลาแล้วที่พม่าและสหภาพยุโรปจะต้องมีการสายสัมพันธ์กันมากขึ้น ความคิดเห็นที่ออกมาจากทางฝั่งของพม่าเองก็ดูจะเป็นไปในทางบวกที่พร้อมจะพัฒนาประเทศให้มากขึ้นไปพร้อมๆ กับความคาดหวังที่จะได้รับการยอมรับ โดยจะเห็นได้จากการออกมากล่าวของนายออง ลิน นักการทูตอาวุโสของพม่าที่กล่าวว่าประชาคมโลกสามารถคาดหวังกับพม่าได้ว่าจะมีการปฏิรูปมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนของเศรษฐศาสตร์สังคม และพม่ากำลังตั้งตารอการขึ้นเป็นประธานอาเซียนเป็นครั้งแรกในปีหน้าและจะแสดงให้โลกเห็นถึงความมุ่งมั่นในการปฏิรูปของพม่า พร้อมกันนี้ยังคาดหวังถึงการยอมรับจากสหภาพยุโรปที่จะมีต่อการปฎิรูปพม่าที่มากขึ้น แม้ว่าในขณะนี้พม่ายังมีอีกหลายปัญหาที่ต้องแก้ไข ทั้งปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ปัญหาความยากจน การต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยรวมถึงการสร้างมาตรฐานความเป็นอยู่ให้กับประชาชนชาวพม่า แต่อย่างน้อยการยกเลิกการคว่ำบาตรพม่าในครั้งนี้น่าจะเรียกได้ว่าเป็นของขวัญจากสหภาพยุโรปสำหรับการปฎิรูปที่เกิดขึ้นในพม่านับตั้งแต่รัฐบาลทหารตัดสินใจวางมือจากการปกครองประเทศ ซึ่งการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรในครั้งนี้น่าจะสร้างความมั่นใจในการลงทุนที่จะมาจากฝั่งยุโรปมากขึ้น ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com...

กัมพูชาค่าแรงต่ำ

กัมพูชาค่าแรงต่ำ

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com กัมพูชา มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ราชอาณาจักรกัมพูชา” (The Kingdom of Cambodia) หรือชื่อที่คนไทยมักจะเรียกกันติดปากว่าเขมร กัมพูชานั้นเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรหมแดนติดต่อกับประเทศไทยทั้งทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ มีเมืองหลวงชื่อกรุงพนมเปญ มีประชากรเฉลี่ย 14.8 ล้านคน กัมพูชาเข้าร่วมกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) เป็นลำดับสุดท้ายใน ปี พ.ศ. 2542 ในการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในระยะเวลาอันใกล้จะถึงนี้นั้น ในคอลัมน์ฉบับนี้จะขอนำผู้อ่านไปทำความรู้จักแง่มุมต่างๆของประเทศกัมพูชาไม่ว่าจะเป็นจุดอ่อนจุดแข็งของประเทศ รวมทั้งโอกาสและช่องทางการทำธุรกิจกับกัมพูชาสำหรับนักลงทุนชาวไทย หลังจากที่ประเทศกัมพูชาถูกปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2496 ประเทศนี้เผชิญกับสงครามกลางเมืองโดยมีการแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือฝั่งรัฐบาลและฝ่ายสังคมนิยม หลังสงครามกลางเมืองนานหลายทศวรรษ สงครามการเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสังคมนิยมซ้ายจัดหรือเขมรแดง จากนั้นกัมพูชาได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ กล่าวคือ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 6.0% เป็นเวลานาน 10 ปี ภาคสิ่งทอ เกษตรกรรม ก่อสร้าง เสื้อผ้าและการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งได้นำไปสู่การลงทุนจากต่างชาติและการค้าระหว่างประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 มีการค้นพบแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติใต้น่านน้ำอาณาเขตของกัมพูชา เป็นที่เชื่อกันว่าเมื่อมีการสำรวจและขุดเจาะภายในปี พ.ศ. 2556 นี้ จะพบน้ำมันและทรัพยากรธรรมชาติที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของชาวกัมพูชาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก นอกจากการลงทุนของต่างชาติแล้วการท่องเที่ยวก็ยังเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้กัมพูชาอย่างมาก เนื่องจากกัมพูชาถือเป็นเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย ในทุกๆวันจะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปชื่นชมความงามของอารยะธรรมขอมโบราณและความงามทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงหลงเหลือในสถานที่สำคัญต่างๆ อาทิ นครวัด นครธม และปราสาทเขาพระวิหารของกัมพูชาจำนวนมาก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้กัมพูชามีการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้นก็เนื่องจากอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำที่สุดในประเทศอาเซียน คิดแล้วตกอยู่ที่ 61 ดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณ 1,830 บาทต่อเดือนเท่านั้น จึงทำให้ได้รับความนิยมจากนักลงทุนชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นนักลงทุนชาวต่างชาติยังได้รับการสนับสนุนที่ดีจากรัฐบาลกัมพูชาผ่านมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้โดยเสรีไม่มีข้อจำกัด นักลงทุนสามารถกำหนดราคาสินค้าเพื่อส่งออกได้ ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจในกัมพูชาได้ 100% และสามารถซื้อทรัพย์สินทุกประเภทได้ยกเว้นที่ดิน แต่ทว่าชาวต่างชาติก็ยังมีสิทธิเช่าที่ดินทำกินระยะยาวถึง 99 ปี หลังจากนั้นสามารถต่อสัญญาได้ และในกรณีที่แรงงานภายในประเทศนั้นไม่พอ นักลงทุนสามารถนำแรงงานต่างชาติเข้ามาเพิ่มได้ โดยรัฐบาลได้ออกกฎหมายรองรับการอนุญาตแรงงานต่างชาติอีกด้วย นอกจากนั้นการทำธุรกรรมต่างๆ สามารถใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แทนเงินเรียลของกัมพูชาได้โดยสะดวก เพราะนั้นแล้วจึงไม่น่าแปลกใจที่กว่า 60% ของธุรกิจทั้งหมดในกัมพูชาจะเป็นของคนต่างชาติ อย่างไรก็ตามกัมพูชาเองนั้นยังมีสาธารณูปโภคพื้นฐานในระดับที่ต่ำ การพัฒนาในเรื่องนี้ยังต่ำ รัฐบาลก่อสร้างได้น้อย และแม้แรงงานจะมีราคาถูกตามที่ได้เสนอไปในข้างต้นแต่ทว่าแรงงานที่ทักษะนั้นกลับมีค่อนข้างน้อย รัฐบาลกัมพูชาจึงพยายามสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติให้เข้าประกอบกิจการในประเทศเพื่ออาศัยเงินลงทุนเป็นรายได้เข้าประเทศ กับเพื่อไปจัดสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานและพัฒนาจำนวนแรงงานที่มีทักษะต่อไป จุดอ่อนอีกประการของกัมพูชาคือการที่มีภูมิประเทศเพาะปลูกทำการเกษตรได้น้อย แต่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 % ทุกปี ทำให้ต้องนำเข้าสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคต่างๆจากต่างประเทศในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก แม้รัฐบาลกัมพูชาจะสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ แต่ยังคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่นักธุรกิจจากไทยจะเข้าไปลงทุนในกัมพูชา เพราะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลระหว่างไทยและกัมพูชานั้นในปัจจุบันไม่ค่อยจะราบรื่นนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีพิพาทเรื่องแย่งชิงพื้นที่ทับซ้อนในเขาพระวิหาร ซึ่งล่าสุดได้มีการฟ้องร้องต่อศาลโลกและในปัจจุบันยังรอฟังคำวินิจชี้ขาดอยู่ จึงมีผู้เกรงว่าความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาในประเด็นดังกล่าวอาจบั่นทอนโอกาสขยายการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศในอนาคตได้ แต่ถ้าหากรัฐบาลทั้งสองประเทศตกลงกันระงับข้อพิพาทดังกล่าวได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อไทยหลายประการ อนึ่งไทยสามารถที่จะส่งออกสินค้าเกษตรอุปโภคซึ่งไทยผลิตได้มากไปยังกัมพูชา ซึ่งการขนส่งทำได้ง่ายกว่าชาติอื่นเพราะพรหมแดนติดกันและคนกัมพูชายังนิยมสินค้าจากไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การเข้าไปลงทุนในกัมพูชาที่มีค่าแรงงานถูกน่าจะคุ้มค่าต่อนักลงทุนไทย ในส่วนของการท่องเที่ยวนั้นไทยและกัมพูชามีโอกาสที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันโดยอาศัยพื้นที่ทับซ้อนให้เป็นประโยชน์ จะสามารถดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามโอกาสของนักลงทุนไทยในกัมพูชายังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองของทั้งสองประเทศเป็นหลัก ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com...