AEC Advisor in Asian Economic Community of ASEAN Countries

มาตรการกีดกันทางการค้า

มาตรการกีดกันทางการค้า

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.lawyer-thailand.com การเปิดเสรีทางการค้าเมื่อสมาชิกอาเซียนตกลงเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้น ด้านการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศสมาชิก AEC ด้วยกันจะต้องมีการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีและไม่มีการจัดเก็บภาษีระหว่างกัน ทั้งนี้ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศสามารถออกมาตรการอื่นๆ เพื่อปกป้องสวัสดิภาพของประชากรในประเทศตนได้หากมาตรการดังกล่าวตั้งอยู่บนหลักการไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discriminatory Basis) และไม่ใช่มาตรการทางภาษี ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวเรียกว่า “อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี” หรือ Non-Tariff Barriers (NTB) อย่างไรก็ดี NTB นี้สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือปกป้องอุตสาหกรรมภายในของแต่ละประเทศแทนมาตรการทางภาษี อันส่งผลให้สินค้าที่ผลิตในประเทศมีข้อได้เปรียบสินค้านำเข้าซึ่งอาจทำให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิก AEC ไม่เป็นไปอย่างเสรีและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) นั้นสามารถจำแนกได้เป็น 8 ประเภทด้วยกันได้แก่ (1) มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping: AD) (2) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Counter-Vailing Duty: CVD) (3) มาตรการปกป้องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard) (4) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary: SPS) (5) มาตรการอุปสรรคเทคนิคทางการค้า (Technical Barrier to Trade: TBT) (6) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม (7) มาตรการด้านแรงงาน (8) มาตรการรูปแบบอื่นๆ เช่น การจัดซื้อโดยรัฐ การกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนต่างดำเนินการตาม AEC Blue Print ที่เป็นแนวทางของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยแต่ละประเทศได้ลดอัตราภาษีนำเข้าในสินค้าและบริการประเภทต่างๆ อย่างต่อเนื่องตาม AEC Blue Print แต่เมื่ออัตราภาษีลดลงกลับพบว่าอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศกลับเพิ่มขึ้นแทนมาตรการทางภาษี ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎระเบียบการขออนุญาตนำเข้าสินค้าที่ยุ่งยากและมากขึ้น การกำหนดมาตรฐานอาหาร มาตรฐานแรงงานหรือสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น หรือการกำหนดจุดนำเข้าสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้หากมีการใช้อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมากเกินความจำเป็นก็ถือเป็นการกีดกันทางการค้าแบบแอบแฝงนั่นเอง ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศมีการออกกฎระเบียบการนำเข้าสินค้า การกำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้าตลอดจนกฎระเบียบในรูปแบบอื่นๆ เป็นจำนวนมาก เช่นกรณีประเทศอินโดนีเซียที่มีการออกกฎระเบียบและมาตรการกีดกันทางการค้า (Protectionist Measures) มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในโลกรองจากประเทศอินเดียและตุรกี ทั้งยังเป็นประเทศที่มีการออกมาตรการกีดกันทางการค้ามากที่สุดในอาเซียน (จากการรายงานขององค์การการค้าโลก) อินโดนีเซียมีการกำหนดให้สินค้าข้าวหอมมะลิต้องมีวัตถุประสงค์พิเศษในการนำเข้า เช่น นำเข้าเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าพร้อมขอการรับรองจากกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียก่อนและขออนุญาตจากกระทรวงการค้าของอินโดนีเซียในแต่ละรอบขนส่ง นอกจากนี้ยังมีมาตรการกำหนดให้หอมหัวแดงที่นำเข้าต้องผ่านการตัดรากและตัดจุกออกก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออกไทยทั้งยังทำให้หัวหอมนั้นเน่าเสียเร็วอีกด้วย อีกทั้งยังมีกรณีประเทศฟิลิปปินส์ที่กำหนดให้สินค้าไก่สดและไก่แช่แข็ง เนื้อวัวสดและแช่เย็น เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการตรวจรับรองโรงงานจากหน่วยงานของฟิลิปปินส์ ทั้งนี้แม้ไทยจะได้รับการยกเว้นให้นำเข้าเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 แต่ขณะนี้ฟิลิปปินส์ก็ยังมิได้ออกหนังสืออนุญาตให้ การใช้อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศนั้นส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนการขนส่งหรือขั้นตอนการขอใบอนุญาต เมื่อสินค้านำเข้ามีต้นทุนที่สูงขึ้น ความสามารถในการแข่งขันกับสินค้าภายในประเทศผู้นำเข้าที่มีต้นทุนถูกกว่าก็จะต่ำลงไปด้วยเพราะมีราคาที่สูงกว่าสินค้าในประเทศ จากปัญหาการกีดกันทางการค้าดังกล่าวนักวิชาการหลายฝ่ายได้เสนอให้อาเซียนหารือให้ชัดเจนเกี่ยวกับการออกมาตรการทางการค้าที่มีผลต่อการค้าภายในภูมิภาคว่าสามารถใช้อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อปกป้องสวัสดิภาพของประชากรแต่ละประเทศได้มากน้อยเพียงใด อะไรที่ถือเป็นการกีดกันทางการค้าที่ห้ามประเทศสมาชิกกำหนดมาตรการเหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้ตั้งหน่วยงานเพื่อตรวจสอบการดำเนินมาตรการที่ถือเป็นการกีดกันทางการค้าต่อประเทศสมาชิก AEC ด้วยกัน เพื่อให้การค้าภายใต้ AEC เป็นไปอย่างเสรีตรงตามเจตนารมณ์ของ AEC และทำให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิก AEC ขยายตัวเพิ่มขึ้นอันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคต่อไป แม้จะมีการตกลงให้เปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนแล้วก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติการเปิดการค้าเสรีนั้นอาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศมีรายได้จากการเก็บภาษีจากข้างนอก ดังนั้นนโยบายของประเทศเหล่านั้นจึงไม่เป็นไปตามนโยบายของอาเซียน ประเด็นนี้คงต้องมีการทำความเข้าใจและโน้มน้าวให้ประเทศเหล่านั้นเข้าใจว่าแม้การเปิดเสรีจะทำให้รายได้ของประเทศที่ได้จากการเก็บภาษีศุลกากรลดลงแต่ประเทศก็จะมีรายได้จากการเก็บภาษีด้านอื่นสูงขึ้น เช่น เก็บภาษีเงินได้ (Sales Tax) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้มากขึ้นเมื่อมีการซื้อขายกันมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้หากสินค้าที่นำเข้ามาเป็นวัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่โรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปและส่งออกอีกต่อหนึ่ง มูลค่าของสินค้าดังกล่าวก็จะสูงขึ้นเมื่อขายไปแล้วผู้ประกอบการจะได้กำไรเพิ่มขึ้น รัฐก็จะได้ภาษีเพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง สิ่งเหล่านี้คือเรื่องประเด็นที่ต้องมีการทำความเข้าใจแก่รัฐบาลและประชาชนทุกระดับ...

ประชุมสุดยอดอาเซียน

ประชุมสุดยอดอาเซียน

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com การประชุมผู้นํา 10 ชาติสมาชิกอาเซียนหรือเรียกเป็นทางการว่า “ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน” หรือ ASEAN SUMMIT จัดขึ้นโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) หรืออาเซียน (ASEAN) ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพรวมถึงความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน การประชุมสุดยอดอาเซียนหรือ ASEAN SUMMIT ครั้งแรกจัดขึ้นที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี พ.ศ. 2519 หลังจากนั้นก็มีการจัดประชุมเรื่อยมาโดยต่างหมุนเวียนกันเป็นประเทศเจ้าภาพในการจัดการประชุม จนถึงปัจจุบันการประชุมสุดยอดอาเซียนได้เดินทางมาถึงครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา การประชุมครั้งนี้จัดขึ้น ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบการ์วัน ประเทศบรูไน โดยประเด็นสำคัญในการหารือครั้งนี้เน้นไปที่ความพยายามในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นความพยายามสานต่อเพื่อให้ได้ข้อตกลงร่วมกันถึงบทบาทของ ASEAN กับจีนกรณีพิพาทหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ที่เชื่อกันว่าอุดมไปด้วยน้ำมันและก๊าซ ทั้งยังเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากจีนอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ในทะเลจีนใต้ ขณะที่ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไนรวมทั้งไต้หวันต่างอ้างสิทธิเหนือพื้นที่บางส่วนในทะเลจีนใต้เช่นกัน ซึ่งภายหลังการประชุมที่ใช้เวลา 2 วันสิ้นสุดลงได้ข้อสรุปว่าผู้นำชาติอาเซียนต้องการเร่งจัดทำหลักปฏิบัติ หรือ Code of Conduct แก่จีนเพื่อที่จะลดความตึงเครียดในน่านน้ำที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์นี้ นอกจากประเด็นเรื่องการอ้างสิทธิในทะเลจีนใต้แล้ว ผู้นำอาเซียนยังได้หารือถึงความตึงเครียดบริเวณคาบสมุทรเกาหลี โดยกลุ่มผู้นำอาเซียนต่างเดินหน้าสนับสนุนเพื่อเรียกร้องให้คาบสมุทรเกาหลีเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งประธานในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ได้แถลงข้อเรียกร้องของอาเซียนที่ต้องการให้เกาหลีเหนือปฏิบัติตามพันธกรณีของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอย่างเต็มรูปแบบและเรียกร้องคำมั่นสัญญาที่เกาหลีเหนือได้ให้ไว้ในการเจรจา 6 ฝ่ายเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 นอกจากนี้บรรดาผู้นำอาเซียนได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะรักษาเอเชียใต้ให้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธอื่นๆ ที่มีกำลังทำลายล้างสูงอีกด้วย แม้ว่าในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ผ่านไปจะยังไม่ได้เห็นบทสรุปที่เป็นรูปธรรมมากนัก รวมไปถึงการที่มีนักวิเคราะห์มองว่าข้อเรียกร้องของอาเซียนต่อจีนที่จะให้จีนเห็นชอบกับหลักปฏิบัติทางทะเลที่มีผลผูกพันตามกฎหมายหรือ Code of Conduct นั้นอาจไม่สัมฤทธิ์ผล เนื่องจากในอดีตอาเซียนและจีนได้เคยเห็นพ้องกันในการจัดทำหลักปฏิบัติเมื่อปี 2545 แต่นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจีนได้ปฏิเสธที่จะหารือถึงการจัดทำหลักปฏิบัติใดๆ อีก ถึงกระนั้นก็ตามการประชุมในครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จในแง่ของความเป็นเอกภาพในทางความคิดของผู้นำอาเซียนที่จะรักษาสันติภาพให้เกิดขึ้นในภูมิภาคไม่ให้เกิดการนองเลือดทั้งกับกรณีข้อพิพาทในทะเลจีนใต้กับข้อพิพาทระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ สันติภาพดังกล่าวจะนำไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยของประชาชนในชาติ ซึ่งเมื่อถึงปี ค.ศ. 2015 อยากให้ประชากรในอาเซียนกว่า 600 ล้านคนมีความรู้สึกว่าต่างเป็นพี่น้องและเป็นครอบครัวเดียวกันในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ...

การลงทุนในอินโดนีเซีย

การลงทุนในอินโดนีเซีย

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ประเทศอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเข้าไปลงทุนด้วยเม็ดเงินที่สูงเนื่องจากประเทศอินโดนีเซียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 3 ในเอเชียโดยเป็นรองแค่จีนและอินเดียเท่านั้น ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจของอินโดนีเซียซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 6.5% ในปีหน้า นอกจากนี้บรรดาสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agency: CRA) ทั้ง Moody’s Investors Service และ Fitch Ratings ต่างปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศอินโดนีเซียขึ้นมาอยู่ในระดับ Investment Grade จากเดิมอยู่ในระดับ Non-Investment Grade มากว่า14 ปี อันดับความน่าเชื่อถือที่สูงขึ้นนี้คือหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยดึงดูดให้นักลงทุนทั่วโลกสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศอินโดนีเซียมากยิ่งขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวประกอบกับการที่อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเต็มตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทำให้อินโดนีเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนทั่วโลก สำหรับนักลงทุนไทยนั้นประเทศอินโดนีเซียถือเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่น่าเข้าไปลงทุนด้วยปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการ เช่น ขนาดตลาดของอินโดนีเซียที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรสูงถึง 250 ล้านคน ทำให้มีความต้องการสินค้าปริมาณมาก โดยเฉพาะสินค้าประเภทอุปโภค บริโภคของไทยซึ่งเป็นที่นิยมสูงในหมู่ชาวอินโดนีเซีย เนื่องจากชาวอินโดนีเซียมีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าไทยและมักมองสินค้าไทยว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสมราคา ปัจจุบันมีสินค้าแบรนด์ไทยที่วางขายในอินโดนีเซียหลายยี่ห้อ เช่น สาหร่ายเถ้าแก่น้อย ถั่วทองการ์เด้น เป็นต้น นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เช่น น้ำมัน เหมืองแร่และถ่านหิน ทำให้ที่ผ่านมามีบริษัทใหญ่ๆ หลายรายเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย เช่น บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เครือซีเมนต์ไทย (SCG) รวมไปถึงเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ที่เข้าไปลงทุนในกิจการอาหารสัตว์ นอกจากนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียยังมีลักษณะคล้ายคลึงกับของคนไทยหลายประการ เช่น นิยมช่องทางจำหน่ายสินค้าที่เข้าถึงได้สะดวกและมีการบริการที่รวดเร็ว เนื่องจากชาวอินโดนีเซียต้องเผชิญกับปัญหาสภาพการจราจรที่ติดขัดเช่นเดียวกับชาวไทย โดยเฉพาะในสภาพการจราจรในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซียที่ติดอันดับ 10 เมืองที่มีปัญหาการจราจรรุนแรงที่สุดของโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา ปัญหาการจราจรนี้ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียต้องการความรวดเร็วและความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตประจำวันจึงนิยมซื้อสินค้าจากแหล่งจัดจำหน่ายที่เข้าถึงง่ายอย่างร้านสะดวกซื้อ นิยมรับประทานอาหารที่สามารถรับประทานได้รวดเร็ว เช่น อาหารพร้อมปรุง พร้อมรับประทานต่างๆ อย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งปัจจุบันตลาดผู้บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของอินโดนีเซียนั้นใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียยังมีพฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ตอีกด้วย โดยชาวอินโดนีเซียใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 1.5 ชั่วโมงต่อวัน และนิยมค้นหาข้อมูลสินค้าบนสื่ออินเตอร์เน็ตและสังคมออนไลน์เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า การทำตลาดบนสื่อออนไลน์จึงมีความสำคัญค่อนข้างมากในปัจจุบันเช่นเดียวกับผู้บริโภคชาวไทยที่การตลาดบนสื่อออนไลน์โดยเฉพาะบรรดาสังคมออนไลน์อย่าง Facebook หรือ Instagram ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก แม้อินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่น่าลงทุนเพียงใดแต่ก็ยังมีอุปสรรคการลงทุนบางประการที่ผู้ประกอบการไทยซึ่งจะเข้าไปลงทุนควรเตรียมความพร้อมก่อนเข้าไปทำธุรกิจ อาทิ การแข่งขันที่ค่อนข้างสูงในภาคธุรกิจทั้งจากผู้ประกอบการท้องถิ่นและนักลงทุนต่างชาติ ระบบราชการของอินโดนีเซียที่ช้ายิ่งกว่าระบบราชการไทย โดยการติดต่องานราชการอินโดนีเซียต้องใช้เวลานานมาก ยกตัวอย่างเช่น การตั้งบริษัทใหม่ต้องใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 – 1.5 เดือนเมื่อเทียบกับประเทศไทยที่ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายของอินโดนีเซียก็ยังไม่มีประสิทธิภาพ กฎระเบียบด้านการลงทุนของอินโดนีเซียก็มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่างๆ ก็ยังล้าหลังพอสมควรเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนหลายๆ ประเทศอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ซึ่งปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้ของอินโดนีเซียต้องมีการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วเพื่อรับการลงทุนจากต่างประเทศและรองรับการเปิด...

AEC ในความรู้สึกของคนไทย

AEC ในความรู้สึกของคนไทย

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2015 หรืออีกแค่ 3 ปีข้างหน้าเท่านั้น AEC มีเป้าหมายสำคัญคือ การที่จะให้ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกร่วมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีเสรีภาพในการลงทุนระหว่างประเทศ และก่อเกิดการกระจายตัวของแรงงานมีฝีมือในระหว่าง 10 ประเทศสมาชิก AEC ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่างต่อทั้ง 10 ประเทศสมาชิกในอนาคต คนไทยบางคนอาจกังวลในผลกระทบที่จะตามมาจากการเกิดขึ้นของ AEC หรืออาจตีความเป้าหมายของ AEC คลาดเคลื่อนออกไปจากความเป็นจริง อาทิ บางคนกลัวว่า AEC จะทำให้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว บาง คนกลัวโดนแย่งงานโดยแรงงานต่างด้าว บางคนกลัวว่าการรวมตัว AEC จะล้มเหลวแบบสหภาพยุโรป (EU) ขณะที่บางคนก็ยังไม่เข้าใจเลยว่า AEC คืออะไร ในความเป็นจริงแล้วนั้น ผู้ที่กังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเข้าใจผิด เนื่อง จากการเกิดขึ้นของ AEC จะไม่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะการเปลี่ยนแปลงใน AEC จะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงในแต่ละอย่างของอาเซียนจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมี ฉันทามติร่วมกันจากชาติสมาชิกทั้ง 10 ประเทศเสียก่อน ซึ่งแต่ละชาติสมาชิกก็จะต้องตรวจสอบว่ามีกฎหมายของชาติตนเองจำกัดไว้หรือไม่ ในแต่ละเรื่อง ทำให้การดำเนินการใด ๆ ระหว่างสมาชิก AEC ค่อนข้างล่าช้า และไม่ได้รวดเร็วแบบ EU ที่มีสภาพิเศษ Supra-National Authority ที่มีอำนาจในการตัดสินใจแทนชาติสมาชิกทั้งหมด นอกจากนั้น การที่ AEC จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยเสรี ทำให้คนไทยบางส่วนกลัวตกงานเพราะต่างชาติเข้ามาแย่งงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเคลื่อนย้ายแรงงานนั้นจะทำได้เฉพาะ วิชาชีพ 8 สาขา ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ช่างสำรวจ และท่องเที่ยว (ยกเว้นมัคคุเทศก์) ภายใต้ข้อตกลงการยอมรับร่วมกัน (MRAs) เท่านั้น ในข้อตกลงระบุว่า แรงงานจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักวิชาชีพอาเซียน และผู้ที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้จะต้องผ่านการสอบความรู้และมาตรฐาน วิชาชีพที่เป็นภาษาไทย ทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยจึงยังไม่เกิดขึ้น ในทันทีเมื่อ AEC เกิดขึ้น อีกประเด็นที่คนไทยยังเข้าใจผิด คือ การรวมตัวของ AEC ในอนาคตอาจจะประสบปัญหาเศรษฐกิจแบบที่สหภาพยุโรป (หรือ European Union : EU) เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ โครงสร้างของ AEC แตกต่างจาก EU มาก เพราะ EU ค่อนข้างบังคับสมาชิก โดยให้นโยบายทางด้านเศรษฐกิจและการค้าของประเทศสมาชิกเหมือนกันทั้งหมด ในขณะที่ AEC อาศัยความร่วมมือเป็นหลัก และสมาชิกจะไม่มีการบังคับเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ ทั้ง 10 ประเทศ สมาชิก AEC จึงมีอิสระที่จะกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจเอง นอกจากนั้น AEC เป็นแต่เพียงตลาดสำหรับกระจายแรงงานมีฝีมือเสรีเท่านั้น ส่วน EU นั้นแรงงานทุกประเภทสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีทั้งหมด นอกจากนั้น สกุลเงินที่ใช้ใน EU กับ AEC ยังมีความแตกต่างกันออกไป สำหรับ EU นั้นประเทศสมาชิกต้องใช้เงินสกุลเดียวกัน แต่สำหรับ AEC ประเทศสมาชิกยังคงไว้ซึ่งสกุลเงินในประเทศตน ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่า AEC มีความเป็นอิสระมากกว่า EU หากสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่งประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เชื่อว่าประเทศสมาชิกที่เหลือจะไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงเท่ากับที่ประเทศ สมาชิกในกลุ่ม EU จะมีต่อกัน ล่าสุดมีผลรายงานยืนยันการตีความหรือ การเข้าใจผิดในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับ AEC ของคนไทย โดยตามผลรายงานพบว่า มากกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.28 ของกลุ่มคนไทยตัวอย่างที่ไปสำรวจมา ยังไม่ทราบว่า AEC ย่อมาจากอะไร และมีความหมายว่าอย่างไร ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวยังได้แสดงให้เห็นอีกว่า ร้อยละ 30.15 หรือประมาณเกือบ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างที่ไปสำรวจมา ยังไม่มีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ AEC นอก จากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 86.25 ระบุว่า AEC ในความเข้าใจของตนเองคือ การที่ประชาชนในประเทศเดินทางไปลงทุน ดำเนินธุรกิจ หางานทำ หรือศึกษาต่อในประเทศสมาชิกในกลุ่มได้อย่างเสรี ขณะที่ร้อยละ 83.42 ของกลุ่มตัวอย่าง ระบุว่า AEC ในความเข้าใจของตนคือ การที่รัฐบาลของประเทศในกลุ่มได้ต่อรองผลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และอีกร้อยละ 81.15 มองว่า AEC กับการที่รัฐบาลของประเทศในกลุ่มได้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งความคิดดังกล่าวเป็นความเข้าใจเกี่ยวกับ AEC ที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด แม้ รัฐบาลไทยจะได้เตรียมความพร้อมทางด้านนโยบายในด้านต่าง ๆ ให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับชาติอื่น ๆ ในตลาด AEC ได้เป็นอย่างดี แต่หากประชาชนของไทยยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องกับ AEC หรือมีความกลัวที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC แล้ว แนวนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลวางแผนไว้สำหรับต้อนรับ AEC อาจสูญเปล่า เพราะประเทศไทยอาจ ไม่ประสบความสำเร็จกับ AEC ที่กำลังจะมาถึง ดังนั้น รัฐบาลควรจะทำการบ้านอย่างหนักในการเร่งให้ความรู้และพัฒนาให้คนในชาติมี ความรู้ที่ดีเกี่ยวกับ AEC เท่าที่จะเป็นไปได้ ก่อนที่ AEC จะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com            ...

ลงทุนทวาย 3 ชาติ

ลงทุนทวาย 3 ชาติ

ณกฤช เศวตนันทน์ นบ. (เกียรตินิยม) นบท. นม. Nakrit Sawettanan ACIArb ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com โครงการทวายเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติมาก เนื่องจากโครงการทวาย (Dawei Development) เป็นโครงการที่รัฐบาลพม่าถือว่าเป็นโครงการระดับเมกะโปรเจ็กต์ของชาติ จึงมีการออกกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) เพื่อยกระดับ จังหวัดทวาย เป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone) และให้สิทธิประโยชน์หลาย ๆ อย่างแก่นักลงทุน นอกเหนือจากนี้ ก็เพื่อเป็นการดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในโครงการทวาย อย่างไรก็ดี นักลงทุนรายแรกที่ได้สัมปทานเข้าไปพัฒนาพื้นที่ก็คือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (Italian-Thai Development Public Company Limited : ITD) บริษัทสัญชาติไทยนั่นเอง โดยได้เข้าไปพัฒนาโครงการในนามบริษัทลูกที่ชื่อ บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (Dawei Development Company Limited : DDC) ภายใต้ขอบข่ายความตกลงระหว่างบริษัท ITD และการท่าเรือแห่งสหภาพพม่าในปี 2553 เมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมารัฐบาลไทยและพม่าได้มีการทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการขยายความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า อันเป็นการยกระดับความร่วมมือในการพัฒนาโครงการทวาย จากเดิมที่เป็นการทำสัญญาระหว่างเอกชน อันได้แก่ บริษัท ITD กับรัฐบาลพม่า กลายเป็นความร่วมมือระดับ “รัฐต่อรัฐ” (G to G) แทน ทั้งนี้ บริษัท ITD ยังคงร่วมลงทุนพัฒนาโครงการทวายด้วยเช่นเดิม แต่มีรัฐบาลไทยเข้ามาให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงด้านเม็ดเงินลงทุน ซึ่งโครงการทวายต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก เนื่องจากการพัฒนาในระยะแรกเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ซึ่งจากข่าวที่ปรากฏทราบกันดีว่า “ทวายโปรเจ็กต์” หรือโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายมีมูลค่า 3 แสนล้านบาท เป็นโครงการลงทุนใหญ่ติดอันดับโลก ทั้งเป็นที่หมายตาของชาติมหาอำนาจเศรษฐกิจเอเชีย คือ จีน และญี่ปุ่น ที่ต่างต้องการร่วมโครงการ อย่างไรก็ดี จากการให้สัมภาษณ์ของกรรมการผู้จัดการ บริษัท ITD รูปร่างของการร่วมลงทุนดูจะเห็นชัดมากขึ้น โดยการร่วมลงทุนในทวาย น่าจะเป็นไปในลักษณะ 3 ชาติร่วมกัน ได้แก่ เมียนมาร์ ไทย และญี่ปุ่น นั่นเอง จากการเยือนประเทศไทยล่าสุดของ นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ภารกิจสำคัญอันหนึ่งในการเดินทางมาครั้งนี้ คือ ความร่วมมือเร่งรัดผลักดันโครงการทวาย โดยเฉพาะการหาแหล่งเงินลงทุนจากญี่ปุ่นในอัตราเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ผ่านองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า ไม่นับรวมสถาบันการเงินอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นได้ยกหนี้บางส่วนให้รัฐบาลเมียนมาร์ พร้อมเสนอวงเงินกู้ให้ ขณะที่รัฐบาลเมียนมาร์ให้สิทธิ์ญี่ปุ่นในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือที่ติละวา นิคมอุตสาหกรรมสำคัญตอนใต้กรุงย่างกุ้ง และมีการนำทีมนักธุรกิจญี่ปุ่นลงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายด้วย ญี่ปุ่นให้ความสนใจพื้นที่ทวายเป็นพิเศษสำหรับเป็นที่ตั้งโรงงานผลิตเหล็กต้นน้ำ เพื่อส่งวัตถุดิบป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ตั้งฐานผลิตในไทย และนิคมยังเป็นแหล่งที่ตั้งโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ทุนญี่ปุ่นในอนาคตอีกด้วย เหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นความสำคัญยิ่งของโครงการทวายในสายตาญี่ปุ่น ประกอบกับการหารือระหว่าง นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย และ นายโชสุเกะ โมริ ประธานสมาพันธ์ธุรกิจคันไซจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นยังให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในไทยมาก โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน รวมไปถึงการลงทุนในโครงการทวายด้วย คาดว่าจะสามารถสรุปรายละเอียดการลงทุนได้ภายในเดือนมีนาคม 2556 ที่จะถึงนี้ นอกจากนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นแล้วยังมีกลุ่มนักลงทุนจากประเทศจีนที่ให้ความสนใจเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการทวายเช่นกัน อย่างไรก็ดี มูลค่าการลงทุนที่ฝ่ายญี่ปุ่นเสนอเฉลี่ยสูงกว่ามูลค่าการลงทุนของนักลงทุนจีนถึง 3 เท่า ทำให้รัฐบาลไทยต้องพิจารณาถ่วงดุลการเป็นพันธมิตรกับนักลงทุนทั้ง 2 ประเทศอย่างรอบคอบ สำหรับรูปแบบการร่วมลงทุนเพื่อระดมทุนจากนักลงทุนนั้นค่อนข้างเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า จะมีการจัดตั้ง นิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) ในลักษณะที่เป็น บริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชน ขึ้นในประเทศไทย ในเบื้องต้นฝ่ายไทยจะถือหุ้นใน SPV ทั้งหมดร้อยละ 50 ในขณะที่หุ้นที่เหลือจะเป็นของประเทศเมียนมาร์ และญี่ปุ่นตามลำดับ โดยส่วนของประเทศญี่ปุ่นนั้นรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ต้องหารือกับทางฝ่ายญี่ปุ่นเกี่ยวกับข้อสรุปสัดส่วนการถือหุ้นใน SPV ให้ชัดเจนอีกทีก่อน ทั้งนี้ ในส่วนหุ้นของฝ่ายไทยนั้นรัฐบาลจะถือหุ้นร้อยละ 26 จากหุ้นร้อยละ 51 ดังกล่าว ส่วนที่เหลือจะเป็นหุ้นของบริษัท ITD ซึ่งจะถือจำนวนเท่าใดก็ได้ แต่ไม่เกินร้อยละ 25 การตั้ง SPV นี้ต้องใช้เวลาการจัดตั้ง 6-8 เดือนโดยประมาณ เนื่องจากต้องมีการยกร่างกฎหมายจัดตั้งและจัดทำบันทึกข้อตกลงต่าง ๆ โดยเมื่อจัดตั้งแล้ว SPV นี้จะทำหน้าที่เป็น Holding company ที่จะมีนิติบุคคลย่อย ๆ (SPCs) อีก 8 บริษัทด้วยกัน เพื่อลงทุนในแต่ละสาขาโดยเฉพาะ รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงทุนในโครงการทวายนี้น่าจะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ภายหลังการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวเนื่อง (JCC) ครั้งต่อไป ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2556 ที่ปรึกษา www.aec-advisor.com...